วันนี้(27 มี.ค.68) เวลา 09.00 น.ที่ห้องประชุม conference room องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี นายไพบูลย์ ตั้งมีลาภ ประธานคณะทำงาน สมัชชาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานการประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสมัชชาสุขภาพจังหวัด และวัตถุประสงค์ของการประชุม จากนั้นเป็นการเปิดเวทีชวนคิด-ชวนคุย และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของภาคีเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยนางสาวสมจิตต์ น้ำค้าง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรี /นายวันชัย วงษา รองประธานสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯประจำจังหวัดสุพรรณบุรี /นางศศิ ตั้งสะสม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี /นางสาวภูริตา โกมลวรรธนะชัย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุพรรณบุรี และภาคีเครือข่าว เข้าร่วมประชุม ร่วม 35 คน
โดยนายนิทัศน์ ลีอารีย์กุล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า อบจ.สุพรรณบุรีมีความห่วงใยคุณภาพของผู้สูงอายุในสุพรรณบุรีเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ต้องนำรถบรรทุกน้ำไปฉีดพ่นบริเวณที่มีฝุ่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง และที่อยากเห็นคือการสร้างศูนย์ผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐานทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เป็นปอดของผู้สูงอายุ โดยอาจมีพื้นที่นำร่อง รพสต.ซึ่งอาจทำในขั้นปฐมภูมิก่อนโดยการตรวจสุขภาพเชิงรุก 3-4 อำเภอ ในปี 2568 แม้จะอยู่ในช่วงเปิดกรอบที่จะมีคุณหมอ ทัณฑกรรมหรือเจ้าหน้าที่หลักๆที่จะเข้าอยู่ในรพสต.ผนวกกับ นายก อบจ.เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง อาจจะยังเดินหน้าได้ไม่เต็มที่แต่ยืนยันว่ายินดีที่จะให้ความร่วมมือกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดเราจะจับมือทำงานไปด้วยกัน
ขณะที่นางสาวบุณยวรีย์ หงษ์ทอง ผู้ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งขาติ กล่าวว่า บทบาทของ สช. ภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งบทบาทสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในการสานพลังความร่วมมือ และบูรณาการ เพื่อสร้างชุมชนให้มีความเข็มแข็ง ให้ประชาชนมีความรู้เท่าทัน มีส่วนร่วม และมีระบบ เสริมสร้างสุขภาพและระวังป้องกันโรค สร้างนำซ่อม
ทั้งนี้ คณะทำงานได้มีการกำหนดแผน กลไกการติดตามงาน และสนับสนุนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสาน สร้างความเข้าใจ เชิญชวน และสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในจังหวัดเข้าร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมใช้ประโยชน์ ร่วมสนับสนุนการจัดและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัด และสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่จังหวัดและระดับตำบล และยังคงเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยของจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้ง4 มิติคือ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม โดยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน