สื่อดังอย่าง UtusanTV ประเทศมาเลเซีย ได้วิเคราะห์ข่าวใหญ่ของไทยเราได้น่าสนใจอย่างมาก “การพูดคุยสันติภาพจังหวัดชายเเดนภาคใต้ที่กำลังเจรจาอยู่ขณะนี้ มีการตั้งคำถามมาว่า.. จริงหรือ BRN มีอำนาจในการหยุดยั้งการก่อการร้ายในจังหวัดชายเเดนภาคใต้จริงหรือไม่ ?
(วันที่ 14 กพ. 67) ผู้สื่อข่าวประจำสำนักข่าวออนไลน์นิวส์ ได้เปิดเผยว่า สำนักข่าว UtusanTv ของมาเลเซีย ได้นำเสนอบทความสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลไทย กับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ซึ่งได้มีขึ้นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผู้เขียนบทความครั้งนี้ ยังได้ตั้งคำถามหลายเรื่อง ในหลายสิ่งที่คณะทั้งสองได้ตั้งโต๊ะพูดคุยกันเพื่อหวังว่า “กระบวนการพูดคุยที่มีขึ้นหลายครั้งจะสามารถยุติหรือหยุดยั้งเหตุความรุนแรงในพื้นที่ จชต.ของไทยได้หรือไม่ (เมื่อไร) การตั้งหัวบทความครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทย โดยเฉพาะรัฐบาลไทยหวังที่จะให้เกิดขึ้น แต่จริงหรือไม่ !!
โดยเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และ 7 กุมภาพันธ์ 256 กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต.ระหว่างรัฐบาลไทย กับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ได้มีขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในแถลงการณ์ของผู้อํานวยความสะดวกของประเทศมาเลเซีย กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต.โดย พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลี ไซยนัน อาบีดีน กล่าวว่าทั้งสองฝ่ายได้ยอมรับแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (JCPP) ซึ่งจะดำเนินการในอนาคตอันใกล้นี้
-
พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลีฯ ยืนยันว่า รัฐบาลมาเลเซียยืนยันที่จะดำเนินการการพูดคุยอย่างมั่นใจอย่างโปร่งใสและครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จชต.ของไทย ผู้เขียนไม่สงสัยในความโปร่งใส และความมุ่งมานะของรัฐบาลมาเลเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลเอกตันศรี ซุลกิฟลี ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวกในการแสวงหาสันติภาพในพื้นที่ จชต.ของไทยและผู้เขียนก็ไม่ได้โต้แย้งหรือสงสัยในความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการหยุดยั้งความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ของไทย ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานจนได้สังเวยชีวิต ไปแล้วกว่า 7,000 คน นอกจากนี้ ผู้เขียนไม่ได้โต้แย้งถึงแถลงการณ์ของ อุสตาซ อานัส อับดุลเราะห์มาน หัวหน้าคณะผู้แทนของกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ยืนยันว่าการพูดคุยสันติภาพ จชต.ของไทยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและเหมาะสม ในการหาทางออกสู่สันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืนในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการตั้งคําถามก็คือว่า บีอาร์เอ็น เป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทยจริงหรือไม่? หรือเพียงแค่เป็นการอ้างว่าสามารถควบคุมกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทยได้ทั้งหมด สำหรับบันทึกความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทยซึ่งประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส และยะลา รวมถึง 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คือ อำเภอเทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย ผู้เขียนได้ตั้งคําถามนี้เนื่องจากในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันแรกของการพูดคุยในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต. ของประเทศไทย ตำรวจไทยถูกสังหารในจังหวัดนราธิวาสโดยกลุ่มที่เรียกว่าผู้ก่อการร้ายโจมตีแฟลตซึ่งเป็นที่พักอาศัยของตำรวจ ในเหตุการณ์เมื่อเวลา 20.30น. (21.30 น. ตามเวลามาเลเซีย) แฟลตตำรวจภูธรอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตามรายงานของสื่อไทยระบุว่า ตำรวจนายดังกล่าวถูกกระสุนปืนที่คอเสียชีวิต ในอีกเหตุการณ์หนึ่งมีการระเบิดบริเวณปากซอยบาเละ ในเขตอำเภอรือเสาะ ตำรวจเชื่อว่าทั้งสองเหตุการณ์นั้นเป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการติดอาวุธ/นักสู้ เพื่อสร้างบรรยากาศความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเพื่อโต้แย้ง/ตอบโต้กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต. ของประเทศไทยที่กําลังดำเนินอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์
คําถามคือ หากเป็นความจริงที่กลุ่มนักรบหรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ จชต.ของไทยเป็นตัวแทนไปเจรจากับรัฐบาลไทย แล้วการโจมตีเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดจึงมีการคัดค้าน !! หากเป็นความจริงที่ บีอาร์เอ็นเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดในสพื้นที่ จชต. ของไทย โดยปกติแล้วในการเจรจาสันติภาพใด ๆ ในโลก รวมถึงกระบวนการแลกเปลี่ยนนักโทษในความขัดแย้งระหว่างระบอบไซออนิสต์ของอิสราเอลและฮามาสการพักรบจะได้รับการปฏิบัติเพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่น่าเสียดายที่ในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทย มันค่อนข้างแปลกเมื่อกลุ่มที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเจรจา ที่กำลังมีการพูดคุยที่กัวลาลัมเปอร์กับรัฐบาลไทย ในเวลาเดียวกันได้มีการโจมตีที่นราธิวาส และทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่รักษาความปลอดภัยเสียชีวิต จึงเป็นเหตุให้ผู้เขียนอดที่จะตั้งคำถามในประเด็นนี้ขึ้นมาว่า
ร่ายมาซะยาวเหยียดเหมือนสืบล้อเบรคเเตกเลยจึงเป็นเหตุให้ ผู้เขียนอดที่จะตั้งคำถามในประเด็นนี้ขึ้นมาว่าตัวแทนบีอาร์เอ็นที่ได้วางตัวอย่างสง่างาม เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพในกัวลาลัมเปอร์นั้น พวกเขาเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มไหน ? GUN เเน่ …
พื้นที่ปัตตานีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือ ในขณะที่ในจังหวัดอื่น ๆ เช่น นราธิวาส และ ยะลามีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่น ๆ ที่มีอำนาจมากกว่า บีอาร์เอ็นหรือไม่? เป็นความจริงหรือที่คณะผู้แทนบีอาร์เอ็นที่เข้าร่วมในพูดคุยนั้นไม่ได้เป็นตัวแทนของปีกฝ่ายทหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในปีกที่มีอำนาจมากที่สุดของบีอาร์เอ็น แต่พวกเขาเป็นตัวแทนปีกฝ่ายการเมืองการพูดคุยสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางอาวุธ มันควรจะเป็นผู้แทนปีกฝ่ายทหาร ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะปีกฝ่ายทหารเป็นผู้ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ไม่ใช่เป็นปีกฝ่าย อื่น ที่อ้างว่าเป็นผู้นํา สามารถเพียงแค่ออกคำสั่งจากต่างประเทศได้โดยตรง
เหตุใดปีกฝ่ายทหารจึงไม่ถูกนําเข้ามาเป็นสมาชิกของคณะผู้แทนบีอาร์เอ็น จริงหรือไม่ที่คําฟ้องที่ระบุถึงความขัดแย้งทางการเมืองภายในของบีอาร์เอ็นนั้น ร้ายแรงกว่าความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงสถานะของคณะผู้แทนบีอาร์เอ็นที่มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติซึ่งกันและกันจริงหรือไม่ ? ที่มีการอ้างว่า บีอาร์เอ็น ได้รับการสนับสนุนจากประชากรมุสลิมมากกว่าร้อยละ 5 ของประชากรมุสลิมทั้งหมดกว่า 3 ล้านคนในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มทหาร(รับจ้าง) และบุคคลที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัวจากเหตุการณ์ความรุนเเรงทั้งความขัดแย้ง สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในจังหวัดปัตตานี ยะลา หรือนราธิวาส พวกเค้าจ้องมองเวลา โหยหาสิ่งที่ต้องการคือ ต้องการอยู่อย่างสงบสุข ไม่อยากอยู่อย่างหวาดกลัว และตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ผู้เขียนเพียงแค่ตั้งคำถาม เพีบงเเค่หวังว่าอย่าให้มีกลุ่มคนฉลาดคิดประเภทพวกคิดเอาตัวเองเพื่อประโยชน์ส่วนตน รวมไปถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในพื้นที่ชายเเดนใต้ของประเทศไทย ที่คอยเอื้อ คอยสนับสนุนกลุ่มบีอาร์เอ็นทางอ้อมฮั่นเเน่รู่ทันน่ะ !! หากกล่าวหาผู้เขียนว่า เป็นนักเขียนรับจ้างให้ “สยาม” (สยาม:เป็นคำเรียกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่อรัฐบาลไทย)
- คําถามเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับคําตอบ เพราะเราไม่ต้องการให้ความมุ่งมั่นของรัฐบาลมาเลเซีย
(บทความดังกล่าวได้ถุกเรียบเรียง พร้อมนำเสนอ เเละเเปลความหมายอย่างถูกต้องสมบูรณ์เเล้ว) ขอบพระคุณที่กรุณาอ่านจนจบ …