สถาบันวิจัยฯ โดยคณะอนุกรรมคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ตัน อัมพวาตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดี ประธานในพิธีเปิดโครงการฯ
ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า เป็นโครงการนี้ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้ผู้เข้าที่ร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ในการปกป้องอาสาสมัครและความรู้เรื่องอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และเพื่อเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยในมนุษย์ การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่หลากหลายรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้วิจัยได้ความรู้ในกระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานวิจัย
2. เพื่อให้ผู้วิจัยมีความรู้ ความเข้าใจหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และเกณฑ์สากลการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
3. เพื่อให้ผู้วิจัยสามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปปฏิบัติหน้าที่นักวิจัย อย่างถูกหลักจริยธรรมการวิจัย และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งร่วมกันสร้างร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิจัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
4. เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของผู้วิจัย ให้สามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปจัดทำ Research project Consent form และ Information sheet ให้เป็นไปตามหลักสากล และสามารถนำไปใช้ในการขอทุนวิจัย ซึ่งดำเนินการวิจัยได้ถูกต้องตามมาตรฐานทางด้านจริยธรรมต่อไป
สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีคณาจารย์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 79 ท่าน จำแนกเป็นคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 33 ท่าน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 15 ท่าน คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 8 ท่าน คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน คณะครุศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน สถาบันภาษาจำนวน 11 ท่าน และโรงเรียนสาธิตฯ จำนวน 1 ท่าน
ต่อจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้องปราณี รองอธิการบดี ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของประชุมเชิงปฏิบัติการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ที่มีต่อมาตรฐานการดำเนินงานวิจัยของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ ด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2564 ระบุไว้ว่า มีทั้งโครงการที่ต้องและไม่ต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบันฯ ดังนั้น หัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ร่วมวิจัย ต้องผ่านการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อนเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทั้งนี้ เพื่อให้มีการปฏิบัติ “ต่อผู้รับการวิจัย” และ “ความเปราะบาง”ตามนิยาม
ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมขอขอบคุณ ท่านวิทยากร ประกอบด้วยศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม ประธานคณะอนุกรรมการฯ รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญดา ประจุศิลปะ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร ตันณีกุล รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธาพร ฉายะรถี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวภา บัวเวช และนางสาวชุติกาญจน์ ศรีณัฐกุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนครปฐม ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความเห็น และให้ข้อเสนอแนะ และขอแสดงความชื่นชมคณาจารย์ทุกท่านที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และเข้าร่วมโครงการฯทุกท่านด้วยความตั้งใจ