กรณี ดร.อุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(รมว.ทส.) และคณะได้ลงสำรวจพื้นที่สุพรรณบุรี เพื่อจะนำปัญหาต่างๆ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบไปหาทางแก้ไขปัญหา
พบว่าพื้นที่ลำคลองท่าว้าที่อดีตเคยประสบปัญหาน้ำเน่าเสียเนื่องจากผู้ประกอบการฟาร์มหมูปล่อยน้ำเสีย แต่ปัจจุบันหน่วยงานราชการเข้าไปดำเนินการแก้ไขสภาพน้ำใสสะอาด และได้พบมวลหิ่งห้อยจำนวนมาก ส่องแสงเรืองรองสวยงามน่าสนใจ
โดยพาะบริเวณ หมู่ 3-8-9 บ้านสังฆจายเถร ต.สวนแตง อ.เมืองสุพรรณบุรี และเชื่อว่าน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในภาคกลางคืนให้กับจังหวัดสุพรรณบุรีได้เป็นอย่างดี จึงได้ประสานหน่วยงานรัฐ ผู้นำท้องถิ่น ภาคเอกชนชาวบ้าน ร่วมประชุมหาแนวทางในร่วมกันพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา พระครูสิริกิตติคุณ กิตฺติญาโณ เจ้าอาวาสวัดสังฆจายเถร ต.สวนแตง อ.เมืองสุพรรณบุรี ดรงอุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาคราชการทุกภาคส่วนบูรณาการร่วมกัน ประกอบด้วย นายปริญญา เขมะชิต รอง ผวจ.สุพรรณบุรี ว่าที่ ร.ต.ธราธร แข็งขัน นายอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และตัวแทนจากสนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุพรรณบุรี, สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุพรรณบุรี สนง.โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี โครงการชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี อบจ.สุพรรณบุรี ทต.ท่าระหัด อบต.สวนแตง กำนันตำบลสวนแตง ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ สื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมร่วมสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์คลองท่าว้า เพื่อทำการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ดังนั้น โดยล่องเรือชมทัศนียภาพริมฝั่งคลองและหิ่งห้อยในคลองท่าว้า เป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตร (ไป-กลับ รวม 3 กิโลเมตร) ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์คลองท่าว้า แบบอนุรักษ์นิยม หมู่ที่ 3,9 บ้านสังฆจายเถร
ดร.อุดม กล่าวว่านับตั้งแต่นาทีนี้เป็นต้นไป ตนเชื่อมั่นว่าคนไทยทั้งประเทศและคนทั้งโลก จะหันมามอง ต.สวนแตง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์ที่มีความสมบูรณ์มีความสวยงามทางธรรมชาติที่สร้างสรรค์มาให้มนุษย์ ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนเจ้าของพื้นที่ ที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ จากการท่องเที่ยว และเสียประโยชน์ ก็คือต้องเสียสละ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติของระบบนิเวศน์ ดังนั้นความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่เคยเป็นอยู่มาอย่างไรก็แล้วแต่ คำว่านิเวศน์ไม่สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ความเจริญแบบที่จะเป็นได้ เพราะบางจุดบางพื้นที่ที่พบมวลหิ่งห้อยในระยะทางประมาณ 1.5 กม. ของเส้นทางการล่องเรือ จะต้องเป็นระบบที่เราจะต้องรักษาระบบนิเวศน์ของเขาไว้ จึงขอพี่น้องประชาชนมีความเข้าใจมีความเสียสละ “ในฐานะที่ตนเป็นตัวตั้งตัวตี เป็นผู้ริเริ่มที่จะทำเศรษฐกิจของภาพรวมของจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งหมดในภาคกลางคืนฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว ทำพื้นที่ ต.สวนแตงให้เป็นแหล่งดึงดูเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้”
ด้านนายปริญญา เขมะชิต รอง ผวจ.สุพรรณบุรี กล่าวว่าความคิดริเริ่มของ ดร.อุดม จะสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ดีของประเทศไทยต่อไปในอนาคต ตนเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้แน่นอน