วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2565 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีการศึกษา 2560 – 2562 ระดับปริญญาตรี จำนวน2,471 คน แยกเป็นบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 510 คน สาขานิเทศศาสตร์จำนวน 310 คน สาขาบริหารธุรกิจ จำนวน 717 คน สาขาเศรษฐศาสตร์ จำนวน 23 คนสาขาบัญชี จำนวน 262 คน สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 174 คน สาขาศิลปกรรมศาสตร์ จำนวน 104 คน สาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ จำนวน 124 คน สาขาแพทย์แผนไทย จำนวน 28 คน สาขาเทคโนโลยี จำนวน 162 คน และสาขาวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 57 คน
ในการนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มอบปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1 ราย ได้แก่
นายสมปอง สิงห์ชู ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ในรอบสอง เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีการศึกษา 2560 – 2562 ระดับปริญญาตรี จำนวน 2,373 คน แยกเป็นบัณฑิต สาขาครุศาสตร์ จำนวน 1,380 คน สาขาศิลปศาสตร์ จำนวน 678 คน สาขานิติศาสตร์จำนวน 43 คน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 272 คน ระดับปริญญาโท จำนวน 87 คน ระดับปริญญาเอก จำนวน คน 24 คน รวมทั้งสิ้น 2,484 คน
รวมบัณฑิตที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวนทั้งสิ้น 4,955 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเชิงพื้นที่ มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงตามความต้องการของท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)หรือ SDGs“ ตามหลักการพัฒนาของสหประชาชาติ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการดําเนินการขับเคลื่อน เป้าหมาย SDGsทั้ง17 เป้าหมาย โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมสภาวะโลกร้อน หรือแม้แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดที่โลกกําลังเผชิญอยู่ อีกทั้งส่งเสริมแนวคิด “ไม่เป็นการ ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และผลเกิดสันติสุขให้กับชุนชนท้องถิ่น ประเทศชาติ ควบคู่กับการมุ่งนำอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นที่ยอมรับ ระดับชาติ และมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา