อพท. ประกาศความพร้อมดัน “สุพรรณบุรี” เข้ากลุ่มสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีขององค์การยูเนสโก จับมือภาคีเครือข่ายสร้างการรับรู้กลิ่นอายของดนตรีเชิงลึกจากอดีตถึงปัจจุบัน ผ่านละครเพลง The Musical of Suphanburi สร้างการรับรู้สุพรรณบุรี ก้าวสู่เมืองดนตรี มั่นใจใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือยกระดับเมืองสู่สากลดึงดูดนักท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนท้องถิ่น
จากความโดดเด่นเรื่องเพลงพื้นบ้านอีแซวของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่สืบทอดและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น สะท้อนถึงความผูกพันศาสตร์ดนตรีของผู้คนในจังหวัดนี้ที่มีอยู่ในสายเลือดสืบทอดกันมา ซึ่งเป็นต้นทุนทางด้านดนตรีบวกกับปูชนียบุคคลทางด้านดนตรีระดับสุดยอด กลายเป็นสายธารดนตรีที่ยิ่งใหญ่ 5 สายธาร “เบญจภาคีดนตรีสุพรรณ” ได้แก่ เพลงไทยเดิม เพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง เพลงเพื่อชีวิต และเพลงสตริงป๊อปร็อค ถึงวันนี้ยังถูกถ่ายทอดโดยศิลปินคนท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สุพรรณเป็นเมืองดนตรี (Music City)
ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการสํานักงานพื้นที่พิเศษ 7 เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองดนตรี โดยการสร้างการรับรู้ในเรื่องศิลปะดนตรี เพลงพื้นบ้าน และดนตรีร่วมสมัย เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนยกระดับ และผลักดันจังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วม เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีของยูเนสโก(UNESCO Creative Cities Network : UCCN) ภายในปี 2566 จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภายในจังหวัดสุพรรณบุรี ในการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และฟื้นฟูอุตสาหกรรมดนตรี กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในระบบนิเวศด้านดนตรี และเผื่อเผยแพร่ สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีของจังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ดนตรีเป็นตัวขับเคลื่อน สร้างประสบการณ์รับรู้ในรูปแบบใหม่เป็นละครเพลง The Musical of Suphanburi (เพลงรักเมืองเหน่อ) ซึ่งได้ นําเสนอวิถีชีวิตของชาวสุพรรณบุรีที่เกี่ยวข้อง ร้อยเรียงกับศิลปะแห่งดนตรี สอดแทรกด้วยการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
“เพลงรักเมืองเหน่อ” ละครเพลงรักเหน่อๆ ของชาวสุพรรณบุรี การบรรจบกันของสายธารดนตรีทั้ง 5 สาย พร้อมนักแสดงรับเชิญกิตติมศักดิ์ เสรี รุ่งสว่าง แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ และทีมนักแสดงจากเยาวชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียงมากกว่า 100 ชีวิต กํากับการแสดงโดย นายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ที่ผลงานทางด้านกํากับการแสดงละครมากมาย เพื่อยกระดับการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นเมืองดนตรีเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และระดับสากล โดยใช้ดนตรีเป็นตัวขับเคลื่อน ฟื้นฟูอุตสาหกรรมดนตรี กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับระบบนิเวศด้านดนตรี ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน ประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีร่วมกัน และเผยแพร่ สร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม ด้านดนตรีของจังหวัดสุพรรณบุรี ผ่านละครเพลงรักเมืองเหน่อ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ผ่านศิลปวัฒนธรรมดนตรี
ทั้งนี้การใช้อัตลักษณ์ด้านดนตรี เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ทําให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อการพัฒนานโยบายในระดับท้องถิ่นผ่านกิจกรรมดนตรี เป็นอีกหนึ่งแนวคิดหนึ่ง ของการทางานเพื่อการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้แนวทางการทางานตามแนวทาง การร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ที่ อพท. ใช้เป็นเครื่องมือต่อการพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยตรง