นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี โพสต์ผ่านเฟส ถึงแนวทางแนวทางการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด ควรแก้ไขทั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ คือ 1.ต้นน้ำ การจัดระเบียบการเลี้ยงสุนัข ต้องแจ้งขออนุญาตต่อ อปท.(ไม่เสียค่าธรรมเนียม) แต่ต้องมีคุณสมบัติ ความพร้อมทั้งตัวบุคคล สถานที่ เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดปัญหาสุนัขจรจัด ความเดือดร้อนต่อคนในชุมชน และการทารุณกรรมสัตว์ 2.กลางน้ำ การทำหมันสุนัข ทั้งสุนัขที่มีเจ้าของ (ที่ไม่ประสงค์หรือไม่มีความพร้อม ความเหมาะสมที่จะเลี้ยงลูกสุนัขจำนวนมาก) และสุนัขชุมชนหรือสุนัขจร โดย อปท. และปศุสัตว์ (ด้วยวิธีการที่มีเมตตาธรรม) โดยจัดให้มีสถานที่ทำหมันที่ประชาชนเข้าถึงได้ (เหมือนรพ.รัฐ) ส่วนสุนัขที่เจ้าของมีศักยภาพสามารถทำที่คลินิคสัตว์เอกชน (โดยมีการควบคุมราคาที่เหมาะสม) 3.ปลายน้ำ การมีศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด เพื่อนำสุนัขจรจัดเข้ามาอยู่ในศูนย์ เพื่อความปลอดภัยทั้งของคนในชุมชนและสุนัข โดยมีการดูแลสุนัขอย่างมีสวัสดิภาพสัตว์ และ 4.การบังคับใช้กฎหมายการทารุณกรรมสัตว์ทั้งต่อผู้เพาะพันธุ์ ผู้จำหน่าย ผู้เลี้ยง ผู้ทำทารุณกรรมสัตว์
อย่างไรก็ตาม สุนัขที่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีคนดูแล ก็ต้องจับเข้าศูนย์พักพิงเพื่อให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยทั้งต่อคนและหมา จนหมดอายุขัยตามธรรมชาติ