สสจ.สุพรรณบุรี ปฏิบัติการเชิงรุกสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน “ฉีดวัคซีนแล้วทำไมถึงยังติดเชื้อโควิด19”

นายแพทย์พรณรงค์ ศรีม่วง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้บัญชาการเหตุการณ์ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข(Emergency Operation Center: EOC) กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ครั้งที่ 203/2564  เป็นประธานการประชุมติดตามการรายงานสถานการณ์ในแต่ละกลุ่มภารกิจที่ได้รับมอบหมายพร้อมทั้งได้มอบหมายแนวทางเพื่อนำไปปฏิบัติงานต่อไป แบบบูรณาเชิงรุก สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน “ฉีดวัคซีนแล้วทำไมถึงยังติดเชื้อโควิด19”. ณ ห้องประชุมการบูร 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี  ศูนย์ปฏิบัติการฯ COVID – 19 จังหวัดสุพรรณบุรี

การป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สาหรับประชำชนโดยทั่วไป นอกจากมาตรการ DMHTTA     D : Distancing เว้นระยะห่าง  M : Mask wearing สวมหน้ากาก H : Hand washing ล้างมือบ่อย ๆ     T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิ  T : Testing ตรวจเชื้อโควิด-19    A : Application Thai Chana    วัคซีนนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข ในกำรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชน ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายบริษัท หลายกรรมวิธีการผลิต

แต่ปัญหาสำคัญที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ ช่วงแรกของการมีวัคซีน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน คือ  ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย และประสิทธิภาพประสิทธิผล ที่จะ ได้จากการฉีดวัคซีน  ระยะเวลาที่ประเทศไทยเริ่มให้วัคซีนกับประชำชน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เชื่อว่าประชำชน ส่วนใหญ่เกิดภูมิคุ้มกันโรคแล้ว แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ นั่นก็คือ  “ ฉีดวัคซีนแล้วทำไมถึงยังติดเชื้อโควิด” ทำให้ประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติด้านวัคซีน เกิดความเคลือบ แคลงสงสัย อันอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของประชำชน ที่จะไม่รับวัคซีนป้องกันโรค เพื่อเป็นการค้นหาข้อเท็จจริง และสนับสนุนให้การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เดินหน้าต่อไป และมีความ ครอบคลุมสูงยิ่งขึ้น งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี  จึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงาน จากฐานข้อมูลโควิด-19 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุพรรณบุรี  พบว่าการตรวจวินิจฉัยโควิด-19 ด้วยวิธีการ RT-PCR (ตรวจยืนยัน) ระหว่างวันที่ 1 สิงหำคม – 11 ธันวาคม 2564 ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 มีตัวอย่าง Nasopharyngeal swab รวมทั้งหมด 6,214 ตัวอย่าง  ตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,854 ราย

ในจำนวนนี้ เมื่อจำแนกการรับวัคซีน พบว่า  ยังไม่ได้รับวัคซีน   1,380 ราย (ร้อยละ 74.43)   ได้รับวัคซีน 1 เข็ม         269 ราย  (ร้อยละ  14.51)   ได้รับวัคซีน 2 เข็ม  189 ราย  (ร้อยละ 10.20)            ได้รับวัคซีน 3 เข็ม   16  ราย  (ร้อยละ 0.86)  จากข้อมูลดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 แล้วยังมีโอกาสติดเชื้อโควิด19 อยู่จริง (ต้องค้นหำ สำเหตุกันต่อไป) แต่การได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น การติดเชื้อจะลดลง และที่สำคัญ ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย ติดเชื้อโควิด19 มากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนถึง 3 เท่า