เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดตรัง ติดตามการก่อสร้างคลองผันน้ำแม่น้ำตรัง พร้อมทั้งติดตามการบริหารจัดการน้ำ และเตรียมพร้อมช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงช่วงมรสุมในพื้นที่ภาคใต้ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
ที่สำนักงานชั่วคราวโครงการระบบระบายแม่น้ำตรัง ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมคณะเดินทางมารับฟังบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดตรัง และการก่อสร้างคลองผันน้ำแม่น้ำตรัง ที่ใช้งบประมาณกว่า 600 ล้านบาท โดยมีนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมส่วนราชการให้การต้อนรับและบรรยายสรุป หลังจากฟังบรรยายสรุปแล้วทางคณะได้ลงพื้นที่ตำบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง ที่กำลังก่อสร้างระบบการผันน้ำจากแม่น้ำตรัง ลงสู่คลองลัด เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่ง ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงภาคได้คาดฝนเยอะจากลานีญ่า จึงได้สั่งการเลขาฯ สทนช. ลงพื้นที่รุดติดตามความก้าวหน้า โตรงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง วางระบบผันน้ำล่วงหน้าป้องกันวิกฤติอุทกภัยลุ่มน้ำตรัง พร้อมย้ำวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รับมือน้ำหลากพื้นที่ภาคไต้ล่วงหน้า ก่อนเข้าฤดูมรสุมช่วงเตือน ต.ค. – ธ.ค.นี้ อีกทั้งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านน้ำภายใต้ สทนช. ติดตามสภาพอากาศ และประเมินแนวโน้มสถานการณ์น้ำ ปริมาณฝน และพายุอย่างใกล้ชิด รวมถึงวางแผน บริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันและลดผลกระทบให้กับประชาชนล่วงหน้า ก่อนที่ภาคใต้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุมในช่วงเตือนตุลาคม – ธันวาคม ซึ่งจากการติดตามสถนการณ์น้ำในแม่น้ำตรังขณะนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับยังต่ำกว่าตลิ่งทุกสถานี ขณะที่แหล่งน้ำใน จ.ตรังมีความจุเก็บกักรวม 29.62 ล้าน ลบ ม. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวม 24.35 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดกลาง 2 แห่ง แหล่งน้ำขนาดเล็ก 150 แห่ง โดยขณะนี้ยังไม่มีอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยงน้ำมากแต่อย่างใด แต่ก็ต้องไม่ประมาทจะต้องบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกลงมาเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ย. 64 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และในช่วง 1- 2 เดือนข้างหน้าด้วย “รองนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำทั้งที่เป็นสิ่งก่อสร้างและไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง เร่งขุดลอกคูคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมทั้งการพร่องน้ำในคูคลองและอ่างเก็บน้ำให้มีที่ว่างพอสำหรับการรับน้ำหลาก นอกจากนี้ยังให้มีการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักตันน้ำ รถขุด เรือขุด การจัดเตรียมระบบโทรมาตรไว้คอยเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมรับสถานการณ์น้ำได้อย่างทันท่วงที
สำหรับการเตรียมการรับมือน้ำหลากในช่วงฤดูฝนนี้ของโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำ ตรัง ซึ่งประกอบด้วยระบบคลองผันน้ำ ประตูระบายน้ำ และอาคารประกอบ ปัจจุบันโครงการจะมีความคืบหน้าประมาณ 57 เปอร์เซ็นต์ แต่ในช่วงฤดูฝนนี้กรมชลประทานได้เตรียมทำการระบายน้ำผ่านคลองผันน้ำเมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำตรังมากกว่า 300 ลบ.ม/วินาที พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำที่ติดอยู่กับแนวคลองผันน้ำ กรณีทีปริมาณน้ำมากหรือน้ำล้นตลิ่ง เพื่อปกป้องน้ำท่วมเขตเมืองตรัง ต.หนองตรุด ต.บางรัก ต.นาโต๊ะหมิง ซึ่งที่ผ่านมาเกิดปัญหาอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในเขตชุมชนเมืองและพื้นที่ข้างเคียง เป็นประจำเกือบทุกปี อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรังแล้วเสร็จประมาณปี 65 กรมชลประทานได้ออกแบบไว้รองรับวิกฤติในอนาคตโดยสามารถรองรับการระบายน้ำได้ถึง 700 ลูกบาศก์เมดร/วินาที จากสถิติที่ต้องระบายน้ำสูงสุด 400 ลบ.ม./วินาที ก็จะบรรเทาอุทกภัย 3 ตำบลในเขตเมืองตรังเป็นพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ได้อย่างยั่งยืน โดยสามารถนำน้ำที่เก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในช่วงฤดูแล้งกว่า 3,000 ไร่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำตันทุนในการผลักดันการรุกตัวของน้ำเค็ม เพื่อรักษาระบบนิเวศ และช่วยผลิตน้ำประปาได้ปีละประมาณ 1.74 ล้านลูกบาศก์เมตรด้วย