สวก. สนับสนุนงบ วิศวกรรม มทร.ศรีวิชัย สงขลา ขนอม ตรัง ลงพื้นที่ทะเลสาบสงขลา เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรกรรมด้วย IoT ร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
ระหว่างวันที่ 15 – 17 กันยายน 2567 โครงการวิจัยการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรกรรมด้วย IoT ร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา นำโดย ดร.ณัฐพล แก้วทอง (หัวหน้าโครงการวิจัย) พร้อมด้วย อาจารย์ต่อลาภ การปลื้มจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (สงขลา) ผศ.ชยณัฐ บัวทองเกื้อ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มทร.ศรีวิชัย (พื้นที่ขนอม) ผศ.นเรศ ขวัญทอง และ อาจารย์ศยมน พุทธมงคล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง) ลงพื้นที่สำรวจหาตำแหน่งติดตั้งทุ่นตรวจวัดค่าความเค็มและสุ่มตรวจวัดระดับความลึกในทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 10 จุด พร้อมเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อทำการวิเคราะห์หาค่าต่าง ๆ
ทั้งนี้ก็เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณน้ำภาคการเกษตรกรรมที่สามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทะเลสาบสงขลา และวิเคราะห์ปริมาตรแหล่งกักเก็บน้ำอื่น ๆ บนผิวดินทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำในอนาคต เพื่อพัฒนา และติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพน้ำ และความเค็มแบบอัตโนมัติ ครอบคลุมพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ศึกษาและวิเคราะห์ค่าความเค็มบริเวณจุดต่าง ๆ ของทะเลสาบสงขลา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในอนาคต และเพื่อการวางแผนการเพาะปลูกของพื้นที่เกษตรกรรมในคาบสมุทรสทิงพระ จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ และสร้างแบบจำลองเพื่อใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ต้นแบบ เพื่อเป็นตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สวก.) ต่อยอดงานวิจัยจากชุดวิจัยชุมชนนวัตกรรม มทร.ศรีวิชัย โดยการจัดสรรงบประมาณจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) 2563 ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวคณะทำงานปฏิบัติตามมาตรการป้องกับโรคโควิช-19 อย่างเคร่งครัด ด้วยการ swab ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก่อนลงพื้นที่และจำกัดคนเข้าร่วม