บริษัท อีซี่โฮม แถลง…กรณีนายอัจฉริยะพากลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เสียหาย พูดออกสื่อว่า บริษัท อีซี่โฮม หลอกลวงขายบ้านซึ่งไม่เป็นความจริง และทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย

บริษัท อีซี่โฮม แถลง...กรณีนายอัจฉริยะพากลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เสียหาย พูดออกสื่อว่า บริษัท อีซี่โฮม หลอกลวงขายบ้านซึ่งไม่เป็นความจริง และทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย

เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2564 ณ ที่ทำการบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด นายเจริญชัย กิจเวคิน ที่ปรึกษาบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด พร้อมทนายความจัดแถลงข่าว และเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 นายอัจฉริยะได้พากลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เสียหาย โดยนายอัจฉริยะได้พูดออกสื่อว่า บริษัทอีซี่โฮมหลอกลวงขายบ้านให้กับผู้เสียหายแล้วตามที่บริษัทอีซี่โฮม(ประเทศไทย)จำกัดได้ถูกกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เสียหายจับประเด็นได้ ดังนี้

1.อัจฉริยะพูดว่า “บริษัทอีซี่โฮมหลอกลวงโดยการขายบ้านและที่ดินให้กับผู้เสียหายและได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่บังคับคดี
นายเจริญชัย กิจเวคิน ที่ปรึกษาบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงทำให้พูดที่ได้รับฟังเกิดความเข้าใจผิด ที่จริงคือบ้านที่บริษัทขายเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทอีซี่โฮมทุกหลัง บริษัทประมูลบ้านจากการขายทอดตลาดชำระค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วนและการที่นายอัจฉริยะกล่าวหาว่าร่วมมือกับกรมบังคับคดีนั้นก็ไม่เป็นความจริงกรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ไปตามกฏหมาย ในการประมูลซื้อซทรัพย์ของกรมบังคับคดี จะต้องมีการประมูลแข่งราคากัน ทุกคนในห้องประมูลมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดเจ้าหน้าที่บังคับคดีจะเคาะไม้ขาย ผู้ชนะประมูลเมื่อชำระค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วนผู้นั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์การที่กล่าวหาว่าบริษัทอีซี่โฮมฯไม่ได้เป็นเจ้าของจึงเป็นข้อความเท็จ ทำให้บริษัทเสียหาย

2.กลุ่มบุคคลดังกล่าว กล่าวหาว่าอีซี่โฮมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์คือไม่ใช่เจ้าของแล้วไปหลอกขายเพราะหลังโฉนดไม่มีชื่ออีซี่โฮมยังมีชื่อเจ้าของเดิมหลังโฉนด
นายเจริญชัย กิจเวคิน ที่ปรึกษาบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เป็นการเข้าใจผิดของหลายคนที่ยังเข้าใจไปว่าการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องมีชื่อหลังโฉนดเพียงอย่างเดียวซึ่งการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ชำระเงินค่าประมูลซื้อทรัพย์ครบถ้วนแล้วผู้ซื้อทรัพย์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแล้ว บริษัทไม่ได้พูดลอยๆเพราะมีหลายครั้งที่บริษัทประมูลมาได้แล้วเจ้าของบ้านขัดขวางไม่ให้บริษัทได้เข้าใช้ประโยชน์บริษัทก็ตั้งสิทธิทางศาลจนศาลได้มีการพิจารณาและมีคำพิพากษาให้ผู้ที่มีชื่อในโฉนดออกจากบ้านปรากฎตามแนวคำพิพากษาต่างๆมากมายที่ศาลได้ตัดสินให้ขับไล่ผู้มีชื่อในโฉนดออกจากบ้าน นั้นแสดงว่าผู้ที่มีชื่อในโฉนดไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นเจ้าของเสมอไป มันมีกฎหมายเฉพาะในเรื่องการประมูล (เอาคำพิพากษาของศาลต่างๆแสดง)

3.ทำไมไม่ไปปิดหนี้จำนอง
นายเจริญชัย กิจเวคิน ที่ปรึกษาบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เนื่องจาก มีหลายครั้งที่ทรัพย์ที่ประมูลจะเป็นการประมูลแบบติดจำนอง ซึ่งมีภาระหนี้สูงกว่าตัวทรัพย์หรือเรียกว่าหนี้ท่วมตัวทรัพย์ เช่น ผู้กู้ ซึ่งก็คือเจ้าของบ้านที่มีชื่อหลังโฉนดซื้อบ้านมาเพียง 1ล้านบาท แต่ขอกู้ธนาคารมา 2 ล้านบาทนั้นหมายถึงว่า ผู้กู้ได้เงินส่วนต่างไปแล้ว 1ล้านบาทเงินส่วนต่างที่เกินนี้ผู้กู้หรือผู้จำนองได้นำไปใช้เป็นการส่วนตัวแบบสบาย ๆ จะให้อีซี่โฮมรับหนี้ที่ไม่ได้ก่อมันไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม แต่เมื่อบริษัทอีซี่โฮมประมูลได้ จะมีการเจรจาขอรถนี่หากมีส่วนลดแล้วหนี้ที่เหลือไม่เกินตัวทรัพย์บริษัทอีซี่โฮมก็ปิดบัญชีให้(จะเห็นได้จากโฉนดที่ได้แสดงต่อนักข่าว) มีผู้กู้บางรายบ่นว่าถูกหักเงินเดือน การหักเงินเดือนมันก็ไม่เกี่ยวกับบริษัทในเมื่อก่อนที่ผู้กู้จะกู้เงิน ตัวผู้กู้เองได้เซ็นสัญญาตกลงยินยอมให้หักเงินเดือน ผู้กู้ก็ต้องปฏิบัติไปตามสัญญาที่มีไว้ต่อผู้ให้กู้ บริษัทอีซี่โฮมไม่ได้เกี่ยวข้อง

4.มีหมายศาลไปปิดที่บ้านทำให้ผู้เช่า/เช่าซื้อตกใจวิตกกังวล
นายเจริญชัย กิจเวคิน ที่ปรึกษาบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ที่มีหมายศาลมานั้นจริง แต่เป็นกรณีที่ไม่เกี่ยวกับผู้เช่าของบริษัทฯเลย เพราะในหมายศาลไม่มีชื่อผู้เช่าเลยจะตกใจกังวลทำไมเพราะในหมายศาลจะมีชื่อโจทก์ซึ่งคือธนาคารหรือสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้ของจำเลย และมีชื่อเจ้าของบ้านเดิมเป็นจำเลยที่ 1 และจะมีชื่อบริษัทอีซี่โฮมเป็นจำเลยด้วย ไม่เกี่ยวกับผู้เช่าเลย ก็ให้อยู่ไปตามปกติใช้ชีวิตปกติไม่มีใครขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้านนอกจากบริษัทอีซี่โฮมเท่านั้นธนาคารก็ขับไล่ผู้เช่าไม่ได้ เจ้าของบ้านเดิมก็ขับไล่ผู้เช่าไม่ได้เพราะเป็นไปตามกฎหมายบุคคลเหล่านี้ไม่ใช่เจ้าของต้องแยกออกจากกันด้วย ธนาคารเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่เจ้าของ เจ้าของบ้านเดิมก็เป็นลูกหนี้ธนาคาร ส่วนบริษัทอีซี่โฮมเป็นเจ้าของ ส่วนเรื่องคดีที่มีหมายศาลมาบริษัทดำเนินการเอง ผู้เช่ามีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา จ่ายค่าเช่าให้ตรงตามกำหนด ทางบริษัทก็จะปฏิบัติตามสัญญาและส่งมอบบ้านให้แก่ผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อผ่อนครบตามสัญญาสัญญาย่อมมีผลตามกฏหมายและผูกพันทั้งสองฝ่าย ผู้เช่าอย่าได้กังวลแล้วหยุดจ่าย หยุดผ่อนจนมียอดค้างชำระ เมื่อมีการค้างชำระ ทางบริษัทก็จำเป็นจะต้องยกเลิกสัญญา ตั้งสิทธิฟ้องขับไล่

ขณะนี้บริษัทกำลังสืบหากลุ่มบุคคลที่กล่าวหา ใส่ความบริษัทจนเป็นที่เสียหาย บริษัทจะดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาดกับบุคคลเหล่านั้น นายเจริญชัย กิจเวคิน ที่ปรึกษาบริษัท อีซี่โฮม(ประเทศไทย) จำกัด กล่าว