AIS อุ่นใจCyber ชี้สัญญาณเตือนจาก Digital footprint ทุกพฤติกรรมการใช้ออนไลน์สร้าง “รอยเท้าดิจิทัล” เสี่ยงให้มิจฉาชีพหลอกลวง เตือนคนไทยระมัดระวังทุกการใช้งาน

6 สิงหาคม 2564:  มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ของรัฐบาลตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ต และสื่อออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนย้ายมาอยู่บนหน้าจอในโลกออนไลน์เกือบ 100% สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากพฤติกรรมดังกล่าวก็คือ ร่องรอย หรือรอยเท้าดิจิทัล (Digital footprint)” ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดจากการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ก็ตาม ทำให้มีกลุ่มมิจฉาชีพที่ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้นำมาสร้างกลลวงโดยฉวยโอกาสจากสถานการณ์ปัจจุบัน AIS อุ่นใจCyber ในฐานะ คู่คิดดิจิทัล เพื่อคนไทย ทุกเจนเนอเรชัน เตือนคนไทยใช้ออนไลน์อย่างมีสติ ย้ำทุกพฤติกรรมล้วนสร้างรอยเท้าดิจิทัล

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS อธิบายว่าช่วงที่ผ่านมา AIS พบว่ามีปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับการร้องเรียนเกี่ยวกับการโดนหลอกลวง และภัยไซเบอร์ต่างๆ จากผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น ฟิชชิ่ง โดยปลอมลิงค์จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้คนสนใจเข้าไปกรอกข้อมูล หรือแม้แต่ SMS ลวง ที่อาศัยเหตุการณ์ปัจจุบันเช่น ไฟไหม้, โรคระบาด, เงินเยียวยา, วัคซีน มาเป็นตัวล่อ ทำให้คนที่ไม่ทันต่อเล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพเกิดความเสียหายจากการใช้งานขึ้นอย่างมากมาย

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ AIS ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยจากการทำงานของ AIS อุ่นใจCyber พบข้อมูลสำคัญว่า ทุกๆ การใช้งานบนออนไลน์ทำให้เกิด รอยเท้าดิจิทัล หรือ Digital footprint ทิ้งไว้ในทุกที่ซึ่งแน่นอนว่านี่คือสารตั้งต้นที่ทำให้ผู้ใช้งานฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้โดยไม่รู้ตัว มีผลทำให้กลุ่มมิจฉาชีพใช้ประโยชน์ตรงนี้มาสร้างรูปแบบการหลอกลวงจนสร้างความเสียหายได้

AIS อุ่นใจCyber มีความห่วงใยลูกค้าและคนไทยในการใช้งานอินเตอร์เน็ตและออนไลน์ทุกรูปแบบ ย้ำเตือนถึงช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นจากการเหยียบย่ำบนออนไลน์จนสร้างเป็นรอยเท้าข้อมูลในทุกที่อาจทำให้มิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้งานในทางที่ผิดทั้งไม่ว่าจะต่อตัวเองหรือผู้ใช้งานอื่นก็ตาม เพราะฉะนั้นเมื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกรูปแบบต้องมีสติ ไม่โพสรูปหรือข้อความที่สุ่มเสี่ยงต่อการบอกที่ตั้ง รวมถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ และบอกตัวเองเสมอว่าทุกกิจกรรมที่เราทำมีรอยเท้าฝากไว้เสมอเพื่อการใช้งานที่อุ่นใจไร้ภัยไซเบอร์

นางสายชล กล่าวทิ้งท้ายว่าเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า Digital footprint ทำให้แบรนด์รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีอีกมุมที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะ Digital footprint หรือ รอยเท้าดิจิทัล อาจเป็นจุดเริ่มต้นของภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในสารพัดรูปแบบได้ ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการใช้งานทุกขั้นตอนเพื่อลดช่องโหว่ในการใช้ประโยชน์จากการใช้งานของมิจฉาชีพ โดยการทำงานของ AIS ก็ยังยึดมั่นในการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายและบริการดิจิทัลที่ดีให้กับสังคมไทย ควบคู่ไปกับการสร้างความปลอดภัยด้านการใช้งานทุกรูปแบบตามแนวคิดของAIS อุ่นใจCyber ในฐานะคู่คิด ดิจิทัล เพื่อคนไทย ทุกเจนเนอเรชัน

มารู้จักรอยเท้าดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: AIS Sustainability https://bit.ly/3f8ZWeV