วันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” เฮือนฮ่วมแฮง บ้านหนองบัวฮี หมู่ที่ 2 ตำบลหนองบัวฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
พลเอก นิรุทธ เกตุสิริ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พร้อมด้วยคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ลงพื้นที่พบปะให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสานเครือข่าย ขยายผลงานบริการวิชาการชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยเฉพาะการติดตามผลผลิตที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยฯ และการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถจัดการศึกษาและเป็นที่พึ่งของท้องถิ่นชุมชน ตามปณิธาณ “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัดและเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช. เฮือนฮ่วมแฮง” ร่วมให้การต้อนรับและสนับสนุนการดำเนินงาน
สำหรับ พลเอก นิรุทธ เกตุสิริ เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2500 ปัจจุบันอายุ 63 ปีเป็นบุตรของ เรือตรี ดนัย เกตุสิริ (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ) กับคุณแม่พูนรัตน์ เกตุสิริ สมรสกับ นางลักขณา เกตุสิริ มีบุตร–ธิดา รวม 3 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 28 เริ่มรับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 มีตำแหน่งสำคัญอาทิ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่23 (จังหวัดศรีสะเกษ), ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 16 (จังหวัดยโสธร), ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์, ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 (จังหวัดอุบลราชธานี), รองแม่ทัพภาคที่ 2 และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อัตราพลเอก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน
ในส่วนของวัตถุประสงค์ของการลงพื้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสานเครือข่าย ขยายผลงานบริการวิชาการชุมชน และติดตามผลผลิตที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ให้สามารถจัดการศึกษาและเป็นที่พึ่งของท้องถิ่นชุมชน ตามปณิธาณ “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” โดยเฉพาะการสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 สอดคล้องกับแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในการร่วมขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามที่กำลังประสบปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) อย่างเช่นในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้เยี่ยมชมและชิมผลผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย ที่เกิดจากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่“โคก หนอง นา พช.” ภายใต้ชื่อแบรนด์ ”เฮือนฮ่วมแฮง” อาทิ ข้าวโพดปลอดสารพิษหน่อไม้ดอง ปลากรอบ ปลาส้ม การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และการแปรรูปพืชสมุนไพร เพื่อป้องกัน บรรเทาโรคโควิด-19 เป็นต้น”
โอกาสนี้ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้พบปะกับเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ฯ ว่า “ผมขอชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และขยายผลโครงการ “โคก หนอง นา พช.” ตามนโยบายของรัฐบาล และกรมการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ “เฮือนฮ่วมแฮง” นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาชุมชนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นแหล่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร และถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ซึ่งเป็นการน้อมนำเอาแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ขอเป็นกำลังใจให้คุณอัมพรวาภพ และทีมงาน ขอขอบคุณที่ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย ตลอดจนดูแลพี่น้องประชาชนด้วยดีตลอดมา ขอให้มีความสุขและความเจริญยิ่งขึ้นไป” พลเอก นิรุทธ กล่าวอย่างมีความสุข
ขณะที่ นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัด และเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช. เฮือนฮ่วมแฮง” ได้เปิดเผยว่า “ศูนย์เรียนการเรียนรู้เฮือนฮ่วมแฮง ก่อตั้งในปี พ.ศ.2561 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีความครอบคลุมในการบริการสังคม ทั้งการจัดอบรม ฐานการเรียนรู้และการศึกษา และมีภารกิจสำคัญคือการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนให้การบริการชุมชนและส่งเสริมการเรียนรู้สัมมาชีพชุมชน บนพื้นที่ 12.5 ไร่ ในการสร้างแรงบัลดาลใจ แลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับชุมชนและคนรุ่นใหม่ที่สนใจกลับคืนบ้านเกิด โดยมีภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และขอรับบริการจัดฝึกอบรมให้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน” โดยใช้พลังเครือข่ายที่มีความรู้ ความสามารถทั้งด้านงานช่าง งานเกษตร งานผลิตสื่อภูมิปัญญาชุมชน และศิลปะ ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาให้กับกลุ่มบุคคล หน่วยงานที่สนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการความสุข และแบ่งปัน สร้างสรรค์สังคมให้อยู่ดีมีสุข มั่งคั่ง ยั่งยืน บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาของคำว่า “ฮ่วมแฮง” คือ “ร่วมแรง” ซึ่ง ผอ.นรินทร์ พานคำ คือผู้เป็นที่ปรึกษาและตั้งชื่อ “เฮือนฮ่วมแฮง” และถึงแม้ท่าน พึ่งจะล่วงลับจากโลกนี้ไป แต่คุณความดียังคงจะตราตรึงอยู่ในผืนแผ่นดินแห่งนี้อยู่ตลอดไป”
นายอัมพร ได้เล่าต่ออีกว่า “เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทีมผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัด จากนั้นจึงได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และสืบสาน รักษา ต่อยอดแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” โดยเริ่มต้นจากการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในบริเวณรอบศูนย์เรียนรู้ จนสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย ที่เกิดจากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ภายหลังได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรม ป่าดงใหญ่วังอ้อ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นาพช.” กรมการพัฒนาชุมชน นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลมังสาหาร นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และเครือข่ายทีม SAVEUBON ได้ให้การสนับสนุนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับโคก หนอง นา จนกระทั่งได้ดำเนินการขุดปรับพื้นที่ตามรูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” ร่วมกันเอามื้อสามัคคี รวมถึงได้รับเกียรติ เป็นสถานที่ถ่ายทำ Music Video เพลงโคก หนอง นา โมเดล จังหวัดอุบลราชธานี อีกด้วย”
“ขอบพระคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด พัฒนาการจังหวัด และนายอำเภอพิบูลมังสาหาร ที่เป็นแรงบันดาลใจและต้นแบบดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้นำต้องทำก่อน” และขอบพระคุณท่านนายกสภามหาวิทยาลัย พลเอกนิรุทธ เกตุสิริ ที่ให้กำลังใจชื่นชมในผลผลิตในฐานะภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านการฝึกอาชีพ เช่น เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด การประมง ขอขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ในระยะเริ่มต้นปี 2562 และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาพัฒนาสัมมาชีพสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา และสุดท้าย ขอขอบคุณรัฐบาล ผ่านทางกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ที่สนับสนุนบุคลากรและถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่“โคก หนอง นา พช.” ทำให้มีโอกาสไ้ด้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ และถ่ายทอดให้กับผู้อื่น สิ่งที่ดีงามที่เกิดบนผืนแผ่นดินเกิดที่ชื่อ “เฮือนฮ่วมแฮง” ในวันนี้คือพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่สนับสนุนและชื่นชมด้วยความหวังที่จะสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกัน ให้เกิดเป็นพื้นที่ทางสังคมในการพัฒนาคน พัฒนาชุมชุมชน การศึกษา การมีงานทำ สร้างความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง และเอาตัวรอดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน” นายอัมพร กล่าวปิดท้ายด้วยความภาคภูมิใจ
สอบถามข้อมูล ศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” เฮือนฮ่วมแฮง ได้ที่ นายอัมพรวาภพ หมายเลขโทรศัพท์ 083-101-9282