เมื่อ มีโครงการดีๆก็ยังยิ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีความทันสมัยของตำรวจไทยพัฒนานำมาใช้ให้ทันกับยุคสมัยในปัจจุบัน ของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ก็คงต้องพูดคุยกับ พันตำรวจเอก พงษ์ศักดิ์ ชูนาค รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ในฐานะ ผู้เสนอโครงการ และอีกตำแหน่งหนึ่งคือ โฆษกประจำตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ถึง เรื่อง และที่มาที่ไป จนเป็นรูปธรรมนำไปสู่การปฏิบัติงานได้จริงของ “โครงการ ป้องกันอาชญากรรมและการจราจรสีเขียวเคลื่อนที่ Crime prevention & green traffic mobile care”ของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ซึ่งก็ได้รับการ เปิดเผยสามารถนำไปเผยแพร่ทางสาธารณะได้จากป่กท่านโฆษกฯคือ
ด้วยในสังคมปัจจุบัน สถานการณ์การเกิดอาชญากรรมมีแนวโน้มสูงขึ้น คนร้ายมักใช้เทคนิควิธีการก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุม ประกอบกับการก่ออาชญากรรมของคนร้ายนั้น จะใช้ยานพาหนะในการก่อเหตุ และหลบหนี เป็นส่วนใหญ่ ในบางกรณีก็มีการขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หลบหนีด่านตรวจ หลยหนีการตรวจค้น ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนโดยทั่วไป เสียงดังบ่อยครั้งที่เกิดความสูญเสีย เสียหายแก่บุคลากรของตำรวจเอง
ปัญหาด้านการจราจรจึงมีความสัมพันธ์กับปัญหาอาชญากรรม การเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะทางถนน มีแนวโน้มสูงขึ้น อุบัติเหตุแต่ละครั้งเกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ตำรวจ และ ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันหาวิธีการ และมาตรการแก้ไขปัญหาให้ลดน้อยลง ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมจึงมีแนวคิด นำไปการผุด “โครงการป้องกันอาชญากรรมและการจราจรสีเขียวเคลื่อนที่(Crime prevention & green traffic mobile care)”ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการหนึ่ง เมื่อประมวลแล้วเชื่อว่า สามารถลดการเกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาด้านการจราจรได้ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน บุคลากรของตำรวจ และยังสามารถเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในด้านการป้องกันอาชญากรรม และการจราจรได้มากในระดับหนึ่ง
ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ“โครงการป้องกันอาชญากรรมและการจราจรสีเขียวเคลื่อนที่(Crime prevention & green traffic mobile care)” ขึ้นเพื่อรณรงค์ป้องกันมิให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และลดการเกิดปัญหาด้านอุบัติเหตุจราจร โดยการใช้รถยนต์ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์ทางเทคนิคเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำออกไปใช้ตามจุดเสี่ยงต่างๆได้อย่างคล่องตัว เช่น กล้องวงจรปิด (cctv), คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรม ที่เกี่ยวข้อง, สัญญาณอินเทอร์เน็ต, เครื่องขยายเสียง วิทยุสื่อสาร, สัญญาณไฟฉุกเฉิน, สัญญาณไซเรน เป็นต้น พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรถยนต์เคลื่อนที่ ไปประจำยังจุดเสี่ยง ชุมชน เส้นทาง และสถานที่ต่างๆ ที่เหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว
เป้าประสงค์หลักของโครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น ลดปัญหาอาชญากรรม ลดปัญหาด้านการเกิดอุบัติเหตุจราจร สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ชุมชนของตนเอง ด้วยวิธีรับการสนับสนุนรถยนต์พร้อมอุปกรณ์จากภาคเอกชน จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดชุมชนสัมพันธ์ และตำรวจจราจรเป็นเจ้าหน้าที่ประจำรถ กำหนดจุดเสี่ยง ชุมชนเสี่ยง ต่อการเกิดอาชญากรรม เส้นทางเสี่ยง ที่อาจเกิดอุบัติเหตุจราจรด้วยการ นำรถยนต์”Crime prevention & green traffic mobile care”เคลื่อนที่ ไปประจำตามจุดเสี่ยง ชุมชนเสี่ยง และเส้นทางเสี่ยง ที่กำหนด อีกทั้งให้ ผู้นำชุมชนหรือประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการกำหนดจุดต่างๆ ที่ให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปประจำเพื่อปฏิบัติการได้ แหละหรือสามารถ นำรถยนต์เคลื่อนที่ไปตรวจ หรือดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำหนด ให้บริการประชาชน โดยการรณรงค์ป้องกันปัญหาอาชญากรรม และปัญหาอุบัติเหตุจราจร ลักษณะออกหน่วย รณรงค์แนะนำ
ซึ่งลักษณะของการปฏิบัติซึ่งจากการนำเสนอของท่านรองผู้บังคับการในฐานะโฆษกประจำตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมเปิดเผยซึ่งสามารถทำให้มองเห็นภาพความสามารถอีกด้านหนึ่งคือ รถยนต์”Crime prevention & green traffic mobile care”เคลื่อนที่ สามารถ นำออก ไปตั้งจุดเพื่อเฝ้าระวังรวมทั้งเก็บข้อมูลเป็นภาพเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งผู้ที่มีการชุมนุม ประท้วงชุมนุมเรียกร้องปิดถนนอื่นๆรวมทั้งการไปเฝ้าตรวจจับเก็บภาพข้อมูลของนักเรียนเด็กช่าง ที่มักก่อปัญหาวิวาทยกพวก ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ซึ่งในจังหวัดนครปฐมเอง ที่ผ่านมาคงมีปัญหาลักษณะดังกล่าวอยู่บ้างแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่สามารถควบคุมสถานการณ์ ได้ไม่เกิดความรุนแรง จนเกินเหตุแต่ก็มีบางครั้ง การวิวาทของเด็กช่างหรือนักเรียน ก็ก่อให้เกิดความสูญเสียถึงชีวิตและร่างกายรวมทั้งทรัพย์สินที่ผ่านมา
แต่หลังจากนี้ เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวจะลดลงด้วย รถยนต์”Crime prevention & green traffic mobile care”เคลื่อนที่ ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีประจำรถ สามารถนำออกไปตั้งจุดเพื่อเก็บข้อมูลหลักฐาน รวมทั้งเป็นการป้องปราม มีให้เกิดเหตุการณ์วิวาท เป็นกลุ่มหมู่ อาจจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เราก็จะสามารถเก็บข้อมูลภาพบุคคล ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ไว้ แล้วส่งข้อมูลสดผ่านเข้าศูนย์กลางรวมทั้งส่งข้อมูลที่ผ่านไปแล้วเป็นไฟล์ส่งไปให้ส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบย้อนหลังเพื่อหาผู้กระทำได้ภายหลัง ทั้งบุคคลและยานพาหนะ
“โครงการป้องกันอาชญากรรมและการจราจรสีเขียวเคลื่อนที่(Crime prevention & green traffic mobile care)” ของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ได้รับการสนับสนุน รถยนต์ตู้พร้อมอุปกรณ์จากภาคเอกชน ชื่อบริษัทวิริยะประกันภัย มูลค่ากว่า 7 แสนบาท สมทบกับ งบประมาณปกติของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
ซึ่งผลที่จะได้รับ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยภาพรวม คือปัญหาการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ลดลง ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจราจรจะลดน้อยลง ประชาชนมีความมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น ผู้นำชุมชน ประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง
ตลอดระยะเวลาปฏิบัติ ทางตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมในฐานะเจ้าของโครงการยังได้ให้ประชาชน เฝ้าตรวจสอบและ ตอบแบบประเมินความพึงพอใจเพื่อนำแบบประเมินมาวิเคราะห์นำมา ปรับแก้ในสวนได้ให้มีประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติตลอดระยะเวลา ซึ่งเชื่อได้เป็นอย่างยิ่งว่า “โครงการป้องกันอาชญากรรมและการจราจรสีเขียวเคลื่อนที่(Crime prevention & green traffic mobile care)” ของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม จะเป็นโครงการที่ตำรวจภูธรจังหวัดอื่นๆสามารถนำไปขยายผลใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติได้มีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน ถือได้ว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่เป็นอาวุธไฮเทค สำคัญ ชิ้นหนึ่ง ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้นำไปต่อยอดใช้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย
ขอบคุณเครดิต ผู้เขียนโครงการ ร้อยตำรวจเอก สฤษดิ์ สายสวาท รองสารวัตร กองกำกับการ สืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ขอบคุณ เครดิตข้อมูลผู้เสนอโครงการ พันตำรวจเอก พงษ์ศักดิ์ ชูนาค รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
ขอบคุณเครดิตข้อมูลผู้ อนุมัติโครงการต่อเนื่อง พลตำรวจตรี อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม(ขณะนั้น) ขอบคุณเครดิตข้อมูลผู้ สานต่อโครงการจนมีผลปฏิบัติได้ ณ ปัจจุบัน พลตำรวจตรี คำรณ บุญเลิศ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม(ท่านปัจจุบัน)
คำสั่ง ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ด้วย ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม มีคำสั่งที่ 646/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะงาน และการมอบหมายอำนาจหน้าที่รับผิดชอบให้รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม รับผิดชอบ กำกับการบริหารราชการ สั่ง และปฏิบัติราชการแทน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป โดยมอบหมายให้ พันตำรวจเอกพงษ์ศักดิ์ ชูนาค รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม รับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม (ปป) มีหน้าที่วางแผน สั่งการ ควบคุมกำกับดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง โดยได้ดำเนินโครงการป้องกันอาชญากรรม และการจราจรสีเขียวเคลื่อนที่ (Crime prevention & green traffic mobile care) ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการป้องกันอาชญากรรม และการจราจร รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ
เพื่อให้การดำเนินงานด้านการตรวจสอบติดตามและประเมินผล งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ในภาพรวมของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล บังเกิดผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม จึงแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ขึ้น ประกอบด้วย 1. พันตำรวจเอกพงษ์ศักดิ์ ชูนาค รองผู้บังคับการ หัวหน้าคณะทำงาน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม 2. พันตำรวจเอกชัชพงศ์ สุขบุญชูเทพ ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ รองหัวหน้าคณะทำงาน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม 3. พันตำรวจโทภัฏ อินเถลิงศักดิ์ สารวัตรป้องกันปราบปราม คณะทำงาน สถานีตำรวจภูธรบางเลน
4. พันตำรวจโทธเนศ กลิ่นศรีสุข สารวัตรอำนวยการ คณะทำงาน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม 5. ร้อยตำรวจเอกสิรภพ ภู่งาม รองสารวัตรสืบสวน คณะทำงาน สถานีตำรวจภูธรดอนตูม 6. ร้อยตำรวจเอกเรวัต ปัญญาทรง รองสารวัตรสายงานปฏิบัติการ คณะทำงาน ป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม 7. ร้อยตำรวจเอกอธิวัฒน์ ทองปรีชา รองสารวัตรอำนวยการ คณะทำงาน สถานีตำรวจภูธรบางเลน ปฏิบัติราชการ ฝ่ายอำนวยการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม 8. ร้อยตำรวจเอกสฤษดิ์ สายสวาท รองสารวัตรกองกำกับการสืบสวน คณะทำงาน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม 9. ดาบตำรวจพิเชษฐ ทาพล ผู้บังคับหมู่กองกำกับการสืบสวน คณะทำงาน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม 10. ดาบตำรวจสมพร วงษ์มั่น ผู้บังคับหมู่กองกำกับการสืบสวน คณะทำงาน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
11. สิบตำรวจตรีอนิรุทธิ์ น้อยเซีย ผู้บังคับหมู่ป้องกันปราบปราม คณะทำงาน สถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว 12. นายปัญญา เหล่าเจริญวงศ์ กรรมการตรวจสอบ และติดตาม คณะทำงาน การบริหารงานตำรวจจังหวัดนครปฐม 13. นายชำนาญพัฒน์ หาญแก้ว กรรมการตรวจสอบ และติดตาม คณะทำงาน การบริหารงานตำรวจจังหวัดนครปฐม 14. นายเอกณัฎฐ์ คูเจริญชัยมานที กรรมการตรวจสอบ และติดตาม คณะทำงาน การบริหารงานตำรวจจังหวัดนครปฐม 15. นางกิตติวีณ์ สงวนสัตย์ กรรมการตรวจสอบ และติดตาม คณะทำงาน การบริหารงานตำรวจจังหวัดนครปฐม 16. นายอาณัติ คล้ายพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และ คณะทำงาน นักวิทยุอาสาสมัครจังหวัดนครปฐม 17. สื่อมวลชน สื่อสารมวลชน คณะทำงาน
ให้คณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม มีหน้าที่ ตรวจ ติดตาม การปฏิบัติงานของสายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์ สายตรวจตำบล รวมถึงการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ของทุกสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์งานด้านการป้องกันอาชญากรรม และยาเสพติด งานด้านการจราจร รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม และให้คณะทำงานสามารถแต่งตั้งคณะทำงานย่อยในส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ…
วันชัย พูลเพิ่มพันธ์..รายงาน…