นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเป็นห่วงเกษตรกร และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง ตลอดจนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ในช่วงที่ผ่านมา จึงมีนโยบายเร่งด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน ให้สามารถประกอบอาชีพสร้างรายได้ จึงได้ส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้เกษตรกรมีรายได้ช่วงภัยแล้ง 5 อาชีพ ได้แก่ 1.ปลูกพริกแดง 2.เลี้ยงปลาดุก 3.เลี้ยงจิ้งหรีด 4. เลี้ยงเป็ดไข่ และ 5.ไก่ไข่
อย่างไรได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วม ทั้งหมดโดยจะเป็นการทํางานบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตรสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรีศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรีศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรีกองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตรสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรรวมทั้งการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ตลอดจนประสานภาคเอกชนในการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรมต่อไปด้วย
ทั้งนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการปลูกพืชทางเลือก (พริก) จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2564” โดยส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร ทำการเพาะปลูกพริกซึ่งเป็นพืชระยะสั้นและให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร พร้อมดำเนินการเชื่อมโยงตลาดระหว่างแหล่งผลิตกับแหล่งรับซื้อผลผลิตให้มีความชัดเจน สอดคล้องตามข้อสั่งนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ที่มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมการปลูกพริกโดยจัดทำบันทึกความร่วมมือกับตลาดศรีเมืองทองให้รับซื้อพริกในราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกร ในช่วงที่ปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรมีอยู่อย่างจำกัดส่งเสริมการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงตลาดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร เกษตรกรมีรายได้และมีความมั่นคงในอาชีพการเกษตรมากยิ่งขึ้น
ด้านนางเรณู พลเสน ว่าที่ นายกเทศบาลตำบลปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่าโครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการที่ดี ที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ ที่สำคัญยังมีตลาดรับซื้อ ในส่วนขอบงตนปลูกไปแล้วกว่า 1,600 ต้น ได้ผลผลิตดีมาก