บรรยากาศที่วัดบ่อกรุ อ.เดิมบางนางบวช เป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีชาวบ้านร่วมขบวนแห่ประเพณียกธงสงกรานต์ อย่างเนื่องแน่น
โดยมี นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี ซึ่งงานประเพณียกธงสงกรานต์ ซึ่งนับว่าหาดูได้ยากในปัจจุบัน งานประเพณียกธงสงกรานต์ยิ่งใหญ่ ซึ่งจัดกันมาเป็นประจำทุกปี เป็นความเชื่อของชาวบ้านว่าเมื่อทำพิธียกธงสงกรานต์แล้วจะทำให้คนในชุมชนมีความสุข ความเจริญ และมีความอุดมสมบูรณ์ ในทุกๆ เรื่อง การประกอบอาชีพทางการเกษตรจะได้ผลผลิตดี ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งที่ วัดบ่อกรุ ได้กำหนดจัดงานในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี เป็นวันยกธงสงกรานต์ ชมขบวนแห่หลวงพ่อดำ หลวงพ่อมณเฑียร และแห่ดอกไม้รอบหมู่บ้าน ตามประวัติเล่าว่า พอถึงวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือว่าเป็นวันสงกรานต์ลง บรรดาเทวดาและนางฟ้าขึ้นสวรรค์ แต่คนเฒ่าคนแก่บางคนก็เล่าว่า ประเพณียกธงเป็นการยกธงเพื่อฉลอง ความสำเร็จของกลุ่มหรือของชุมชน
และพระปลัดบัวลอย เจ้าอาวาสวัดบ่อกรุ องค์ปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนที่ชาวลาวซี – ลาวครั่ง อพยพมาจากเวียงจันทร์และมาพบกับพื้นที่บริเวณบ้านบ่อกรุ ซึ่งเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มากจึงปักหลักตั้งฐานทำมาหากินอยู่ที่ตำบลบ่อกรุ และก็มีการยกธงเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำเร็จของกลุ่มชนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในที่อุดดมสมบูรณ์ จึง กำหนดให้เป็นวันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันยกธง ก่อนจะมีการยกธงชาวบ้านจะหาตัดไม้ไผ่ลำตรง ๆ ยาว ๆ เพื่อนำมาทำคันธง ส่วนผู้หญิงก็จะเตรียมทำผ้าธงประดับด้วยสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม เพื่อจะนำไปติดที่คันธง เมื่อถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์ชาวบ้านก็จะนำคันธงมารวมกันที่วัดและเมื่อได้เวลาก็จะทำพิธีแห่ธง รอบวัด คนละ 3 รอบ จากนั้นก็จะนำคันธงมาปักลงหลุม ที่เตรียมไว้ จากนั้น จะมีการร้องรำกันรอบคันธงของตัวเองอย่างสนุกสนาน คันธงจะถูกตั้งไว้ 3 วัน 3 คืน
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการสืบทอดประเพณียกธงกันหลายหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านบ่อกรุ หมู่บ้านทุ่งกฐิน หมู่บ้านหนองกระทุ่ม หมู่บ้านสระบัวก่ำ อ.เดิมบางนางบวช และบ้านพุน้ำร้อน อ.ด่านช้าง โดยช่วงกลางวันจะทีการแข่งกีฬา และการละเล่นต่าง ๆ ของผู้สูงอายุและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความเคารพนับถือผู้สูงอายุ