พช.เชียงใหม่ ร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” อำเภอกัลยาณิวัฒนา

วันจันทร์ที่ 1​ มีนาคม 2564 เวลา 09.00 . นายพีระศักดิ์ธีรบดีนายอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบโคก หนอง นา โมเดลภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดลอำเภอกัลยาณิวัฒนาโดยมีนางเสาวภาคย์นิ่มนวลพัฒนาการอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นผู้กล่าวรายงานฯในการนีันายวิทยาชุมภูคำผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนพระวีระยุทธ์อภิวีโรเจ้าอาวาสวัดป่าดงช้างแก้วพระปลัดสุชาติสุวัฑฒโกเจ้าอาวาสวัดห้วยบงหัวหน้าส่วนราชการและทีมวิทยากรครูพาทำอำเภอแม่แจ่ม​​ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดฯ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติตำบลบ้านจันทร์อำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่  โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนาได้กำหนดดำเนินการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบโคก หนอง นา โมเดลภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดลอำเภอกัลยาณิวัฒนาระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม 2564​ รวม​ 4​ คืน​ 5​ วันโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติตำบลบ้านจันทร์อำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯจำนวน​106 คนประกอบด้วยนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ​ (นพต.)​ จำนวน​ 10 คนครัวเรือนต้นแบบจำนวน 86 คนและนักเรียนจำนวน​ 10​ คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล  เพื่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบโคก หนอง นา โมเดลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับตำบล และระดับครัวเรือนและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

สำหรับการฝึกอบรมฯได้กำหนดหลักสูตรเนื้อหาวิชา/ฝึกปฏิบัติฯ อาทิ (1) เรียนรู้ ตำราบนดิน:กิจกรรมเดินชมพื้นที่ (2) เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง​”ทฤษฎีบันได​ 9​ ขั้นสู่ความพอเพียง​ (4) หลักกสิกรรมธรรมชาติ (5) ฝึกปฏิบัติฐานเรียนรู้อาทิ ฐานคนรักษ์ป่า ฐานคนรักษ์แม่ธรณี  ฐานคนรักษ์น้ำ ฐานคนรักษ์สุขภาพ ฐานคนมีน้ำยา (6) ฝึกปฏิบัติจิตอาสาพัฒนา เอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่” (7) การออกแบบเชิงภูมิสังคมตามหลักพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ (8) ฝึกปฏิบัติการสร้างหุ่นจำลองการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนองนา โมเดล” (9) ฝึกปฏิบัติการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตหาอยู่หากิน (10) การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชากลไก 357 (3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคี) (11) จัดทำแผนปฏิบัติยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ  เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ มีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารจัดการ และลงมือฝึกปฏิบัติ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้นำพัฒนา (Change Leader) ที่อยู่ในชุมชน และนำการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และนำไปสู่สิ่งที่ชุมชนต้องการ