ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 43 ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ช่วยเหลือประชาชนสร้างฝายมีชีวิต เพื่อเก็บกักน้ำบรรเทาปัญหาภัยแล้ง อีกทั้งกำลังพลยังได้เรียนรู้วิธีการทำฝายมีชีวิต เพื่อนำไปถ่ายทอดให้ประชาชนหลังจากปลดประจำการ
ที่หมู่ที่ 3 บ้านนาข้าวเสีย ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พล.ต.ภาสกร ทวีตา ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 43 และผู้อำนวยการศูนย์ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 43 ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้เจ้าหน้าที่นำจิตอาสา จำนวน 30 นาย มาช่วยเหลือประชาชนในการสร้างฝายมีชีวิต ที่หมู่ที่ 3 ตำบลนาข้าวเสีย โดยสร้างฝายมีชีวิตที่คลองนางน้อย ทั้งนี้จากสถานการณ์ฝนเริ่มทิ้งช่วงในพื้นที่จังหวัดตรัง ทำให้ปริมาณน้ำในลำคลองต่างๆเริ่มลดระดับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชน และเกษตรกรที่มีอาชีพเพาะปลูก ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จึงได้ร้องขอให้โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 43 ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เข้ามาช่วยเหลือโดยการสร้างฝายมีชีวิต เพื่อเป็นการเก็บกักน้ำและชะลอการไหลของน้ำ ไม่ให้ไหลไป่ยางรวดเร็ว การสร้างฝายมีชีวิตจะสร้างเป็นระดับ และขนาดความกว้างของลำคลอง ทั้งนี้ได้มีนายสมเดช คงเกื้อ เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 15 (อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างฝายมีชีวิต มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ให้กับทหารและให้ทหารลงมือปฏิบัติจริง ในการมร้างฝายมีชีวิต โดยทำตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งในวันนี้เป็นการทำโครงสร้างของฝาย
โดยก่อนหน้านี้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้นำกำลังพลจิตอาสามาร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่นำทรายใส่กระสอบ เพื่อเป็นการจัดเตรียมในการวางกระสอบทรายกั้นน้ำ ทั้งนี้คาดว่าจะทำโครงสร้างฝายมีชีวิตอีกประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะมีการวางกระสอบทรายบนโครงสร้างของฝายมีชีวิต การลงมือปฏิบัติจริงของกำลังพลจิตอาสานั้น ก็เพื่อให้กำลังพลจิตอาสาได้เรียนรู้ในการสร้างฝายมีชีวิต และสามารถนำไปบอกต่อให้กับประชาชนที่ต้องการสร้างฝายมีชีวิตในพื้นบ้านเกิดของตนเองหลังจากปลดประจำการไปแล้ว