วันนี้(17 ก.พ.64) ที่ห้องประชุมพุทธรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี อําเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประธาน คณะกรรมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุพรรณบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี คณะที่ ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุพรรณบุรี และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดยสํานักงานพื้นที่พิเศษ 7 (เมืองโบราณอู่ทอง) ร่วมประชุมเตรียมความ พร้อมและความคืบหน้าในการขับเคลื่อนจังหวัดสุพรรณบุรีก้าวสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีขององค์การ ยูเนสโก ประจําปี 2564
ซึ่งการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1/2564 นี้ จังหวัดสุพรรณบุรีได้รับ เกียรติจากคณะที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุพรรณบุรีที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเมืองต่างๆ ในประเทศไทยจนได้รับการคัดเลือกเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยน มุมมองที่สําคัญ ได้แก่ นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อดีตประธานกรรมการ อพท. , นางสาวิตรี สุวรรณสถิต อดีตรอง เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย UNESCO พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อพท. นําโดย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อํานวยการ อพท. ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อํานวยการ อพท. และ ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการ สํานักงานพื้นที่พิเศษ 7
นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวย้ำว่าจังหวัดสุพรรณบุรี มีศักยภาพ ความพร้อมและความเหมาะสมสําหรับการเป็นเมืองเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านการพฒั นาเศรษฐกิจและสังคม มีศิลปะพื้นบ้านที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและความเจรญิ ของท้องถนิ่ มีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ล้ําค่าโดยเฉพาะด้าน ดนตรี มีแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ จึงพรอ้ มที่จะรว่ มบูรณาการกับทุกภาคส่วนผลักดันให้จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมือง สร้างสรรค์ด้านดนตรี (City of Music) ผ่านกลไกการเข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network) ซ่ึงเป็นกลไกในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และความเข้มแข็ง ของอุตสาหกรรมดนตรีจังหวัดที่จะก่อให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจในพื้นที่ จึงเป็นโอกาสที่ดีของจังหวัดสุพรรณบุรีที่ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน และตนพร้อมผลักดันการพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดสุพรรณบุรีก้าวขึ้นเป็นเมืองแห่ง วัฒนธรรมระดับนานาชาติ อันจะนําไปสู่เป้าหมายการเป็นเมืองแห่งความสุข City of Happiness ในอนาคตต่อไป
โดย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อํานวยการ อพท. ยืนยันว่าการพฒั นาจังหวัดสุพรรณบุรีสู่เครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีขององค์การยูเนสโก ถือเป็นนโยบายสําคัญของ อพท. การส่งเสริมและพัฒนาจุดแข็ง ด้านดนตรีให้กับจังหวัดสุพรรณบุรี ทําให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อ การพัฒนานโยบายระดับท้องถิ่นผ่านกิจกรรมดนตรี และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว อพท. ได้ใช้ กระบวนการรว่ มคิด รว่ มวางแผน รว่ มปฏิบัติ รว่ มรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ที่ อพท. เป็นเครื่องมือในการ พฒั นาให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนโดยตรง การผลักดันจังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็น สมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) ภายในปี 2564 จะเกิดประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยและจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการสร้างการยอมรับใน ระดับสากล ส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของการเดินทางจากประเทศสมาชิกและภาคีเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากทั่ว โลกกว่า 80 ประเทศ อันนําไปสู่จุดหมายปลายทางด้านดนตรีท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป
ด้านนางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุพรรณบุรี อดีตประธาน กรรมการ อพท. ผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนและผลักดันแนวคิดเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี เชื่อมั่นว่า สุพรรณบุรีมีความพร้อมทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ภูมิปัญญา ดั้งเดิม และมีจุดแข็งที่โดดเด่นเฉพาะตัว คือ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ด้านดนตรีที่มีความหลากหลาย คนสุพรรณบุรีมีความเป็นศิลปินอยู่ในสายเลือด อยู่ใน DNA เป็นเมืองที่มีศิลปินอยู่เยอะมาก ทั้งเพลงไทย เพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง เพลงเพื่อชีวิต และเพลงสมัยใหม่ สุพรรณบุรีไดส้ร้างศิลปินระดับชาติและระดับประเทศเช่นครูมนตรีตราโมทครูสุรพลสมบัติเจริญครูก้านแก้ว สุพรรณ ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ แม่ผ่องศรี วรนุช ศรเพชร ศรสุพรรณ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ สายัณห์ สัญญา ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) หรือรุ่นใหม่ๆ เช่น ตนู บอดี้แสลม กัน ณภัทร เปาวลี สุพรรณบุรีเป็นแหล่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับการสร้างสรรค์งานด้านดนตรี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุพรรณบุรีมี ความพร้อมด้านบุคลากรและองค์กรในการขับเคลื่อน มอี งคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มศิลปินทั้งที่อยู่ในพื้นที่ และนอกพื้นที่ยินดีร่วมส่งเสริม ร่วมสืบสาน มีประชาชนในพื้นที่ที่พร้อมให้การตอบรับและร่วมสนับสนุน ร่วม ผลักดันให้สุพรรณบุรีเป็นเมอื งสร้างสรรค์ดา้ นดนตรี และคนที่เปน็ กําลังสําคัญที่สุด มีพลังในการขับเคลื่อนเมือง สร้างสรรค์มากที่สุด ก็คือประชาชนที่พร้อมจะพัฒนา ต่อยอด และสืบสานต่อไปในระยะยาว
ด้าน รศ.ดร.พีรดร แก้วลาย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง และสํานักงานศูนย์วิจัยและให้ คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้จัดทําแผนขับเคลื่อนเมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้าน ดนตรี ระยะ 5 ปี ให้ข้อคิดเห็นว่าการวิเคราะห์ กําหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการวางแผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้วิสัยทัศน์ “สรรค์สร้างสุพรรณซาวด์ สืบสาน ต่อยอดสินทรัพย์ดนตรีท้องถิ่น บ่มเพาะคนดนตรีรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความหลากหลาย สู่การเป็นเมืองอตุ สาหกรรมดนตรีต้นแบบของประเทศ และเป็นจุดหมายปลายทาง ด้านดนตรีระดับโลก” จะสนับสนุนส่งเสริมให้จังหวัดสุพรรณบุรีก้าวสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีท่ี ยั่งยืนขององค์การยูเนสโกแห่งแรกของประเทศไทย ต่อไป