กศน.เมืองนครปฐมรุกโครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพการเกษตร

วันที่ 5 เมษายน 2561 เวลา 10.46 น. ที่หอประชุม อเนกประสงค์ โรงเรียนบ้าน คอวัง หมู่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม นายประชาลักษณ์ ศรีคุณาภรณ์ ผู้อำนวยการ กศน.เมืองนครปฐม ในฐานะ ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม ให้เกียรติ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงอบรมให้ความรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพการเกษตร โดยมี นางสาว จุฑามาศ มีศิริ ครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลบ้านยาง นำชาวบ้านชาย หญิงในหมู่บ้านประมาณ 30 คน จากกลุ่มเกษตรกร ตำบลบ้านยาง และตำบลใกล้เคียง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เข้ารับการอบรมเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 5-9 เม.ย.61

นายประชาลักษณ์ ศรีคุณาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความจำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้การสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ สามารถทำได้อย่างง่ายดายโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง

ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพในการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ จึงมีความสำคัญต่อบุคลากรภายในหน่วยงาน และประชาชน เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก และเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ประชาชนมีความพร้อมในการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารเพื่อการประกอบอาชีพได้
ทั้งนี้ จากการอ้างอิงตามกฎบัตรอาเซียนมาตราที่ 34 ระบุให้ใช้ภาษาทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ (The working language of ASEAN shall be English) ซึ่งหมายความว่าประชาชนใน
10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น นอกเหนือจากการใช้ภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำท้องถิ่นของตนเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหาในเรื่องทักษะทางภาษาต่างประเทศของคนไทย

จากผลสำรวจของสำนักต่าง ๆ ล้วนแต่ชี้ชัดตรงกันว่า “ภาษาอังกฤษ” ของเราสู้เพื่อนบ้านในอาเซียนไม่ได้ และอยู่ใน “ระดับต่ำมาก” โดยหากมองไปที่พื้นฐานทางภาษาในบรรดาทักษะทั้ง 4 ด้านผู้เรียนชาวไทยโดยมากจะมีปัญหาด้านการพูดและการฟัง อันเป็นทักษะพื้นฐานในการสื่อสารระหว่างกัน

สำนักงาน กศน.ได้จัดสรรเงินงบประมาณรายจ่าย เพื่อฝึก อบรมภาษา อังกฤษเพื่อ การสื่อสาร ด้านอาชีพการเกษตรให้ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรและดำเนินชีวิตประจำวันได้

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครปฐม โดย กศน.ตำบลบ้านยาง และ กศน.ตำบล ใกล้เคียงได้ดำเนินการจัดทำโครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ การเกษตรขึ้น ระหว่างวันที่ 5– 9 เดือน เมษายน พ.ศ.2561 โดยจัดอบรมให้ประชาชนกลุ่มเกษตร จำนวน 30 คน ณ โรงเรียนบ้านคอวัง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ผู้อำนวยการ กศน.เมืองนครปฐม กล่าวเสริมอีกว่า แผนงาน บูรณาการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ จึงมีขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ “ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพการเกษตร” สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ขับเคลื่อน กศน. สู่ “Smart ONIE” ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ พัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของครูและบุคลากร กศน .เช่น Boot Camp หลักสูตรภาษาอังกฤษ การจัดหลักสูตรภาษาเพื่ออาชีพ พัฒนากำลังคนให้เป็น “Smart Digital Persons (SDPs)” ที่มีทักษะด้านภาษาและทักษะด้านดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เพื่อการสื่อสารของประชาชนในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมโดยเน้นทักษะภาษาเพื่ออาชีพ ทั้งในภาคธุรกิจ การบริการ และการท่องเที่ยว ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมที่เหมาะกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของชุมชน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร และสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ โดยตระหนักถึงคุณภาพของผลผลิตความปลอดภัยต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน และผู้บริโภค จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้มีการบูรณาการระหว่าง ศฝช. และ กศน.อำเภอ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมให้กับประชาชน

สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา พลิกโฉม กศน. ตำบล สู่ “กศน.ตำบล 4G”พัฒนา กศน.ตำบล ให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง : Good Place Best Check-Inมีความพร้อมในการให้บริการกิจกรรมการศึกษาละการเรียนรู้ เป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะที่ง่ายต่อการเข้าถึง และสะดวกต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสร้างสรรค์ มีสิ่งอำนวยความสะดวก ดึงดูดความสนใจและมีความปลอดภัยสำหรับผู้รับบริการ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใน กศน.ตำบล : Good Activities ให้มีความหลากหลายน่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย : Good Partnership ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ

การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการบริการ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเข็มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่นต่อหนึ่งศูนย์ฝึกอาชีพ รวมทั้งให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนฯลฯ…