นครปฐม ถวายผ้ากฐินสามัคคี วัดไผ่ล้อม ประจำปี 2563 ยอดเงิน3,000,098 บาท

เมื่อเวลา 15.00 . วันที่ 11 ตุลาคม ..2563 ที่ วัดไผ่ล้อม  ตำบลพระปฐมเจดีย์  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม


ดร
.อัญชลิน  ดร.นภัสนันท์  พรรณนิภา บริษัท ที คิว เอ็ม อินชัวร์รันส์ โปรคเกอร์ เป็นประธานในพิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี วัดไผ่ล้อม พร้อมด้วย นายไพรัช สังวริบุตรประธานบริษัท ดาราวิดีโอ, สามเศียร, ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น และ จ๊ะ ทิง จา ทีวี  นายสมชาติ  สาลีพัฒนา (เฮียเงี๊ยบ ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาสาย4) อาจารย์แห้ว (หมอดูเทวดา) แห่งศาลเจ้าพ่อนาคราช .นครสวรรค์ คณะศิษยานุศิษย์วัดไผ่ล้อม และศรัทธาสาธุชน ร่วมทอดถวายผ้ากฐินสามัคคี แด่ พระภิกษุสงฆ์ ที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส    วัดไผ่ล้อม ซึ่งคณะสงฆ์มีฉันทามติ ให้ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์( หลวงพี่น้ำฝน) เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม  ซึ่งเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์และครองผ้าไตรกฐิน  และประธานในพิธี ร่วมถวายจตุปัจจัย ไทยธรรม  และศรัทธาสาธุชน ร่วมถวายกองกฐินสมทบ โดยยอดถวายปัจจัยกฐินสามัคคีวัดไผ่ล้อมประจำปี 2563  จำนวน 3,000,098 บาท  เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและบูรณะปฎิสังขร วัดไผ่ล้อม ต่อไป

หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม กล่าวถึงความเป็นมาของกฐินว่า สำหรับ กฐิน เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อเรียกผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วรับมานุ่งห่มได้ กฐิน แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร ผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน

กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลาทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน มีคำที่เกี่ยวกับ กฐิน หลายคำ เช่น องค์กฐิน เครื่องกฐิน บริวารกฐิน


ความเป็นมาของกฐิน
บันทึกไว้ว่า ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา เมืองสาเกตุ ในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบากพระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทางจากนั้นทรงอนุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ คือ เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันอาหารรวมกันเป็นหมวดหมู่) ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา จีวรอันเกิดขึ้น ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ   ความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้ จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้ จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป จำกัดคราว คือ วัดหนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง