รายงานพิเศษ-กดไลค์รัวๆให้คณะทำงาน”กสศ.เมืองกาญจน์”ไม่ยอมพักเที่ยงเพื่อเด็กด้อยโอกาส




          คณะทำงาน กสศ.กาญจน์ถอดบทเรียนไม่มีพักมื้อเที่ยงกินข้าวขณะประชุมพร้อมรับช่วงต่อช่วยเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา งบปี 63

คณะทำงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จัดประชุมถอดบทเรียนปรับแก้การทำงานปีที่ผ่านมา  โดยคณะทำงานในที่ประชุมไม่ยอมพักเที่ยง  ต่างรับประทานอาหารในขณะประชุมเร่งรัดถอดบทเรียน  เพื่อรองรับงานปีงบประมาณต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมสถาบันศรัทธาภัฏ  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี   มีการจัดการประชุมคณะทำงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่  เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี  นำโดย นายศิวโรฒ จิตนิยม ประธานสวัสดิการชุมชน จ.กาญจนบุรี คณะทำงาน   ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พร้อมด้วย ดร.สายชล  เทียนงาม ดร.ลักษิกา เจริญศรี นายพิศิษฐ ยินดีวี  นายจักรกฤษณ์ โพธิ์แพงพุ่ม 4 นายสถาปนา ธรรมโมรา นางสาวจันทร์คณา  มั่นคง คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาแนวทางการติดตามและประเมินผลโครงการ รวมถึงได้ถอดบทเรียนการดำเนินการโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ปี 2562 สรุปผลการรายงานการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบ การช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจน อุดหนุนการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 25 แห่ง การกำหนดตลาดนัดวิชาชีพเด็กและเยาวชนนอกระบบอำเภอหนองปรือ และ การสรุปปิดโครงการฯ ปี 2562 ในวันที่ 30 กันยายน 2563

          นายศิวโรฒ จิตนิยม ประธานสวัสดิการชุมชน จ.กาญจนบุรี คณะทำงาน กล่าวว่า จากการประชุมถอดบทเรียนก็เพื่อทบทวนการทำงานที่ผ่านมาว่า ได้ทำอะไรมาบ้าง มีข้อติดขัดที่ต้องนำมาแก้ไขอะไรบ้าง พร้อมทั้งสรุปการช่วยเหลือเด็กที่ด้วยโอกาสทาการศึกษาอย่างไรบ้าง  มีการช่วยเหลือไปแล้วทั้งหมดกี่ราย ส่วนในการประเมินผลในด้านกลไก  สรุปได้ว่าเป็นการทำงานตามบริบทของพื้นที่ที่ทำงานกันอย่างเข้มแข็งดีมาก  ขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับแก้ในการทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐ  ที่ยังทำความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน  อีกประการหนึ่งก็คือ  ข้อมูลที่ทางหน่วยงานของจังหวัดมีไม่ตรงกับข้อมูลที่ทาง กสศ.ได้มา จึงต้องเป็นหน้าที่ของคณะทำงานที่จะทำอย่างไรให้ทำข้อมูลดังกล่าว    ที่ออกมาได้ตรงกัน รวมถึงประเด็นการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสที่ล่าช้า  ถึงเวลาเด็กเข้าเรียนแล้วการช่วยเหลือก็ยังเข้าไปไม่ถึง ฉะนั้นการทอดบทเรียนในครั้งนี้จะทำให้การทำงานครั้งต่อไปถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น  พร้อมทั้งได้มีการจัดงานของสภาการศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้   ที่จะเห็นภาพรวมของการจัดการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี     จะไปในทิศทางใด  ส่วนในด้านการศึกษาเพื่ออาชีพก็ได้วิทยาลัยการเกษตรกรรมจังหวัดกาญจนบุรี  เข้ามาช่วย ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ก็ได้มีการสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสเข้าไปศึกษาด้านอาชีพอีกทางหนึ่ง

ด้าน ดร.ลักษิกา เจริญศรี  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จ.กาญจนบุรี คณะทำงาน กล่าวเสริมว่าสิ่งที่สำคัญกว่าการได้งานคือการได้คนที่มีคนทำงานที่มีคุณภาพ  มีคุณธรรม  มีความเสียสละ  มีจิตสาธารณะและจากการถอดบทเรียนเรามีกลไกการทำงานที่ได้มาที่เรียกได้ว่าเบญจภาคี  มีภาครัฐหนุน มีประชาชนนำหน้า วิชาการหนุนเสริม  มีองค์กรส่วนท้องถิ่นขนาบข้าง มีสื่อเคียงคู่ขนาน  ทำให้การทำงานสนุกสนาน อย่างไรก็ดีการทำงานย่อมมีข้อแก้ไข   ซึ่งการถอดบทเรียนขณะทำงานต่างก็ยอมรับซึ่งกันและกัน ช่วยกันนำประสบการณ์ปรับแก้ความเข้าใจให้ตรงกัน  เพื่อนำไปสู่การทำงานในอนาคต สิ่งที่ต้องเข้าใจตรงกันคือ เราต้องทำฐานข้อมูลชุมชน (Big Data Community) ที่มีกลไกการจัดเก็บข้อมูลกันเอง ซึ่งคาดว่าน่าจะต้องให้เกิดขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี

           นับว่า  ความมุ่งมั่นและความเข้มแข็งของคณะทำงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี  จะส่งผลให้ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา  ได้รับความเสมอภาคทางการศึกษาถ้วยหน้ากันในไม่ช้า

           จตุรพร  สุขอินทร์/รายงาน