จังหวัดตรัง เปิดโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าเพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร
ที่บริเวณป่าชายเลนบ้านควนล้อน หมู่ที่ 9 ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ จ.ตรังนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าและพิธีปลูกต้นไม้ ด้วยศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้จัดทำ “โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า” โดยครอบคลุมถึงป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ป่าพรุ และที่ดินของรัฐประเภทอื่น ๆ รวมถึงการฝึกอบรม “จิตอาสา” เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า ดำเนินการปี พ.ศ. 2563 – 2570 โดยกำหนดพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟู และมีพื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าภายใต้โครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่าเพิ่มขึ้น รวมกันจำนวนไม่ต่ำกว่า 2.68 ล้านไร่ ใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร) ระยะที่ 1 ระยะเร่งด่วน (ดำเนินการเสร็จภายใน 28 ก.ค. 2563) (1) จังหวัดเร่งด่วน จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก น่าน นครราชสีมา ชัยภูมิ และนครศรีธรรมราช ปลูกป่าไม่ต่ำกว่า 1,010 ไร่ และทำฝายเพิ่มความชุ่มชื้นของระบบนิเวศน์ พื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง รวมจำนวนไม่ต่ำกว่า 70 แห่ง (2) จังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดเร่งด่วน จำนวน 71 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) ปลูกป่าหรือปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ไร่ รวมทั้งประเทศ 7,100 ไร่ ระยะที่ 2 และ 3 (ดำเนินการในปี พ.ศ. 2563-2570) (1) ปี พ.ศ. 2563-2565 ฟื้นฟูป่าในจังหวัดเร่งด่วน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก น่าน นครราชสีมา ชัยภูมิ และนครศรีธรรมราช จำนวนรวมกันปีละไม่ต่ำกว่า 11,000 ไร่ รวม 2 ปี ไม่ต่ำกว่า 22,000 ไร่ รวมทั้ง ฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าใน 71 จังหวัดที่เหลือ (รวมกรุงเทพมหานคร) เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ไร่ต่อปี รวม 71 จังหวัด 7,100 ไร่ต่อปี รวม 2 ปี จำนวน 14,200 ไร่ (2) ปี พ.ศ. 2565-2570 กำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าจำนวนร้อยละ 15-20 ของพื้นที่ต้นน้ำ (ชั้นคุณภาพน้ำ 1 และ 2) ที่เสื่อมสภาพและ มีการใช้ประโยชน์จากราษฎรจำนวน 12.7 ล้านไร่ (ป่าสงวนแห่งชาติ/ป่าอนุรักษ์/ อื่นๆ) ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชนเฉลี่ยแห่งละ 50 ไร่ จาก 11,327 แห่ง เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 0.153 ล้านไร่ จากพื้นที่ป่าชายเลนตามกฎหมายจำนวน 1.5 ล้านไร่ ฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุ จำนวน 20,000 ไร่ รวมทั้ง เพิ่มพื้นที่สีเขียวในจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ป่าตามกฎหมาย เฉลี่ยจังหวัดละ 100 ไร่ ต่อปี รวม 5 ปี จังหวัดละ 500 ไร่