วอนทุกฝ่ายมาช่วยกันเพื่ออนาคตชาติและลดปัญหาทางสังคม

จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดนำร่องในกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.ที่ได้รับงบประมาณมาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ที่ได้รับการคัดกรองและสมัครใจจะเข้าเรียนต่อหรือฝึกอาชีพระยะสั้น จำนวน 375 คน ใน 8 อำเภอ และมีการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจน จากการคัดกรอง  3,240  คน ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 1,489 คน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 90 แห่งของจังหวัดกาญจนบุรี

นายสถาปนา  ธรรมโมรา  ผู้ประสานงาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  หรือ  กสศ.  เปิดเผยว่าท    การหาข้อมูลในแต่ละพื้นที่ค่อนข้างยากมาก  เนื่องจากที่ได้ข้อมูลมามีผู้ที่ไม่ยากเรียนหนังสือมีมาก  เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมในสังคม  ปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว  ครอบครัวไม่มีรายได้  มีปัญหาในครอบครัว  สถานที่ห่างไกลจากสถานศึกษา  การเดินทางมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายให้กับรถรับส่ง ปัจจุบัน  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  หรือ กสศ.  ที่จัดตั้งขึ้นมาก็เพื่อช่วยเหลือปัญหาผู้ด้วยโอกาสทางการศึกษาดังกล่าว  รวมไปถึงการดูแลทางโภชนาการให้กับเด็กให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน  ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนการทางด้านการเจริญเติมโตมากขึ้น  แต่การช่วยเหลือของ กสศ.จะไม่ซ้ำซ้อนกับทางที่ราชการจัดให้

ผู้ประสานงาน  กสศ.  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  สำหรับเป้าหมายการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี  ประมาณ  375  คน  คณะทำงานได้พยายามทำแผนการช่วยเหลือ  ซึ่งจากจุดที่เราได้ให้การช่วยเหลือ   ก็เพื่อขยายผลไปยังหลายๆพื้นที่  เพื่อให้ทันต่อการช่วยเหลือได้ทันท่วงที  แม้กระทั่งในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควด-19  ทาง กสศ.ก็ได้จัดถุงยังชีพที่เป็นข้าวสารอาหารแห้งมอบให้กับเด็กด้อยโอกาสของจังหวัดกาญจนบุรี  หัวละ 600  บาท

นายสถาปนา  กล่าวอีกว่า  ขณะนี้ได้การมีทำสื่อทางโซเชียลมีเดีย  ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่า  จังหวัดกาญจนบุรี  ได้มีโครงการจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ช่วยเหลือเด็กหรือเยาวชน  อายุระหว่าง อายุ 2 -21 ปี ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา  ซึ่งถ้าเป็นเด็กโตก็จะจัดให้ไปเรียนการศึกษานอกโรงเรียน  พร้อมทั้งฝึกอาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับพัฒนาฝีมือแรงงาน  ให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ  รวมถึงจะให้จะให้ผู้ที่รับหน้าที่ผู้จัดการรายกรณีในพื้นที่  คอยติดตามผลความคืบหน้าของเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือว่า    มีความเคลื่อนไหวหรือมีการพัฒนาอย่างไร  ยังสนใจในเรื่องการฝึกอาชีพ  การเรียนหรือไม่  ซึ่งกรณีเหล่านี้  ในจังหวัดกาญจนบุรี มีอยู่จำนวนมาก  โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 17,000  ราย  ปีแรกเป็นการช่วยเหลือนำร่อง  จังหวัดกาญจนบุรี  ได้งบประมาณจาก  กสศ.  มาจำนวน  1,500,000  บาท   มีเด็กประมาณ  375 คน  ที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ  โดยมีแผนการช่วยเหลือกระจายออกไปทั้ง 8 อำเภอนำร่องของจังหวัดกาญจนบุรี  ได้แก่  หนองปรือ  เลาขวัญ  ท่าม่วง  เมือง  สังขละบุรี  ทองผาภูมิ  และ  ด่านมะขามเตี้ย

 

ส่วนความคาดหวัง  อยู่ที่ภาคีเครือข่ายที่ได้รวบรวมทั้งภาคราชการ  ภาคประชาสังคม  องค์กรสาธารณะต่างๆที่เข้ามาช่วยกันทำงานแบบจิตอาสา  ก็หวังว่าในอนาคต  จังหวัดกาญจนบุรี  จะมีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  จากระดับจังหวัดลงไปถึงทุกอำเภอและตำบล  เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน  เข้ามาในระบบการศึกษา  จะทำให้เข้ามีความรู้  เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม  จะส่งผลให้เด็กและเยาวชนของจังหวัดกาญจนบุรี  เป็นคนดีมีคุณภาพ   เป็นอนาคตที่ดีของชาติ  และช่วยลดปัญหาทางสังคม.