รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชื่นชมห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอย่านตาขาว ตอบโจทย์ ห้องสมุดดิจิตอล Digital library แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ชองชุมชน
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ของสำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง พร้อมด้วย นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. นายพะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ. และคณะทำงาน โดยมี นายศุภชัย ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายสาธิต ไกรนรา นายอำเภอย่านตาขาว และนางนภา จิโรภาส ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ผู้บริหาร ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาให้การต้อนรับ
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนเองมีความตั้งใจในการเดินทางมาตรวจเยี่ยมจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นจังหวัดที่ 77 ของการลงพื้นที่ตรวจราชการ และครบ 1 ปี ซึ่งแม้เป็นจังหวัดสุดท้าย แต่จะไม่ใช่ท้ายสุดที่จะนำไปสู่การพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ลงพื้นที่ได้สัมผัสถึงความตั้งใจในการทำงานเพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาไทย ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคเพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือและแก้ไขมากมายหลายแบบ ซึ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และในวันนี้ เดินทางมาตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดประชาชน”เฉลิมราชกุมารี”อำเภอย่านตาขาว จ.ตรัง ซึ่งนับได้ว่าเป็นห้องสมุดที่มีการปรับกระบวนการจัดการส่งเสริมการอ่านที่ทันสมัยด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ด้วยการส่งเสริมการอ่านผ่านสมาร์ทโฟน หรือสแกนคิวอาร์โค้ด แล้วสามารถเปิดอ่านรายละเอียดต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีโต๊ะเก้าอี้ที่ถูกจัดวางให้นั่งอ่านอย่างเพียงพอตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโลน่า (โควิด-19) นอกจากนี้ยังมีบรรณารักษ์ที่มีคอยให้คำแนะนำอย่างเป็นกันเอง ตอบโจทย์ ห้องสมุดดิจิตอล Digital library แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
นางสาวมาลิตา หลีหยัน ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอย่านตาขาว กล่าวว่าห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอย่านตาขาว ได้มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ยิ่งทุกวันนี้ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้นำสมาร์ทโฟนมาใช้ในการค้นคว้า เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ดังนั้นห้องสมุดต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจัดกิจกรรมการอ่านให้นักเรียนนักศึกษาประชาชนสามารถอ่านและเรียนรู้อย่างถูกต้องและเหมาะสมทุกช่วงวัย เช่น การนำแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลแล้ว นำสมาร์ทโฟนมาสแกนคิวอาร์โค้ดก็จะทราบรายละเอียดทั้งหมด หนังสือ และนิทาน ก็จะมีการจัดทำเป็น E-Book สามารถอ่านบนสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน.