“สนธิรัตน์ “ ลั่น จะประเมินยอดขายของดีเซล B10 ทั้งหมด โดยจะสรุปรวม เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลวิเคราะห์ให้เห็นถึงผลจากเรื่องของยอดใช้ ก่อนจะขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบาย เพื่อต่อยอดในเรื่องของการพยุงราคาผลิตผลปาล์ม และสร้างเสถียรภาพราคาของปาล์มน้ำมัน
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรงพลังงาน และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ประมาณต้นเดือนมีนาคม2563 นี้จะเป็นห่วงเวลาที่หลายคนรอคอย กับการขับเคลื่อนผลักดันนโยบายน้ำมันดีเซล B10 โดยกระทรวงพลังงาน ตานโยบายที่วางโครงสร้าง โดยเน้นย้ำถึงประโยชน์ของการรักษาเสถียรภาพผลิตผลทางการเกษตร และประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร โดยเฉพาะ “ปาล์ม” ซึ่งที่ผ่านมามีราคาผันผวนไม่นิ่ง โดยราคาปาล์ม ที่ก่อนหน้านี้ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แตะเพดานนิวไฮที่ 7 บาท ต่อกิโลกรัม กลายเป็นที่กังวลของหลายฝ่าย เกี่ยวกับ ผลปาล์ม ที่กำลังออกสู่ตลาด
ล่าสุด รมว.พลังงาน ได้ผลักดันโครงการการตรวจสอบผลปาล์มนอกระบบ จนสามารถกระตุก “ราคาปาล์ม” ให้ยังคงทรงตัวเป็นไปตามกลไกของการตลาด ในระดับราคาที่เริ่มนิ่ง เริ่มทรงตัว นับเป็นการรักษาเสถียรภาพผ่านนโยบายที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม ต่อเนื่องไปกับการขับเคลื่อนนโยบาย B10 ในเดือนมีนาคมนี้ กับหัวจ่ายที่จะกระจายไปทุกสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ขับเคลื่อนกลไกการตลาดกระตุ้น “ดีมานด์” ให้ขยับขึ้นหลายเท่าตัว กลายเป็นอีกหนึ่งในกลไก ที่จะช่วยสร้างฐานราคาปาล์ม รองรับผลผลิตปาล์ม และรักษาเส้นทางของราคาปาล์มให้ยังคงดำเนินไปแบบธรรมชาติ เป็นเรื่องของการรักษามาตรฐานราคา ที่ไม่ได้เน้นเพียงให้ขยับขึ้น แต่เน้นให้นิ่งให้มีความชัดเจน ก่อนจะเดินหน้านโยบายและมาตรการอื่นๆ ขึ้นมารองรับ เพื่อเป้าหมาย คือการ “รักษาเสถียรภาพราคา” มากกว่าการมุ่งหวังให้ราคาปาล์มขยับขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว บนเป้าหมายสูงสุดที่อยู่บนยอดปลายปิรามิด
“คือการสร้างมาตรฐานราคาปาล์ม รวมถึงราคาสินค้าเกษตรพลังงาน ทั้งระบบแบบครบวงจร” ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืน และมั่นคง กับเศรษฐกิจฐานรากของเกษตรกรไทย เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบาย B10 ที่จะเป็น “ต้นทาง” และเป็น “โมเดล” ของการสร้างเสถียรภาพราคาผลิตผลทางการเกษตร ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ รมว.พลังงาน กล่าวว่า “นโยบายขับเคลื่อนน้ำมันดีเซล B10 ในขณะนี้ ก็จะต้องเร่งรัด ในการที่สถานีบริการ ที่จะต้องมีหัวจ่าย B10 ทั้งประเทศในวันที่ 1 มีนาคม 2563 นี้ จากนั้นก็จะมีการประเมินยอดขายของดีเซล B10 ทั้งหมด โดยจะสรุปรวมเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลวิเคราะห์ให้เห็นถึงผลจากเรื่องของยอดใช้ ก่อนจะขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบาย เพื่อต่อยอดในเรื่องของการพยุงราคาผลิตผลปาล์ม และสร้างเสถียรภาพราคาของปาล์มน้ำมันต่อไป” นายสนธิรัตน์กล่าว และไม่เพียงแต่เรื่องของ “นโยบาย B10” ที่จะเริ่มต้นเป็นน้ำมันประเภทแรก ที่จะเดินหน้ากับการสร้างเสถียรภาพผลิตผลทางการเกษตรประเภทพปาล์ม แต่ก่อนหน้านี้ มีการประกาศโดยกระทรวงพลังงาน และเป็นแนวนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอีกเช่นเดียวกัน กับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย E20 ที่กำลังจะตามมาติดๆ กับการยกเลิกน้ำมันแก๊ซโซฮอล์ 91 เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้น้ำมัน แบบ E20 แทน ซึ่งจะเน้นไปที่การเพิ่มความต้องการน้ำมัน E20 โดยมีสินค้าเกษตรประเภท อ้อย และ มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบสำคัญ ในกระบวนการผลิต และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของเกษตรกรไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพด้านราคา มาเช่นเดียวกับปาล์ม สองนโยบายสำคัญ คือทั้ง B10 และ E20 จากกระทรวงพลังงาน จึงเป็นแนวทางสำคัญของการสร้างเสถียรภาพสินค้าเกษตร โดยเฉพาะพืชพลังงานของไทย โดยกระทรวงพลังงาน ซึ่งนับได้ว่า เป็นแนวคิด และเป็นเส้นทาง ที่มีความชัดเจนในเชิงนโยบาย ก่อนจะนำไปสู่ การสร้างรากฐานความสอดคล้องระหว่าง ตัวเลขผลผลิต และ ตัวเลขของความต้องการทางด้านการตลาด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเสถียรภาพของราคาผลิตผล ตามแผนตามนโยบาย
การเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับหัวจ่ายน้ำมัน ดีเซล B10 ทั่วประเทศที่กำลังจะมาถึง จึงเป็นที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากประสบควาสำเร็จ ตามที่กระทรวงพลังงานได้คาดหวังไว้ ก็เป็นไปได้ที่นโยบายอื่นๆ ทั้ง E20 จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญทั้ง B10 และ E20 ในครั้งนี้ เป็นข่าวดี และเป็นทั้ง ความหวังของเกษตรกรพืชพลังงานของไทย กับ มาตรฐานด้านราคาผลผลิตที่เห็นภาพ เห็นผล ซึ่งนโยบายที่ชัดเจน และความคาดหวังนี้ เป็นสิ่งที่เกษตรกรน่าจะรอคอยมายาวนานหลายปี
ฉะนั้น 1 มีนาคม นี้ กับการคิกออฟ เริ่มต้นหัวจ่ายน้ำมัน B10 ทั่วประเทศ และการวิเคราะห์ประเมินผลเชิงรวมถึงทิศทางการปรับตัวหันมาใช้น้ำมันของประชาชน นับได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้สำคัญ ถึงอนาคตของพืชพลังงานไทย และอนาคตของเกษตรกรพืชพลังงานไทย ทั้งเกษตรกรปาล์ม เกษตรกร อ้อย และมันสำปะหลัง เชื่อได้ว่าหลายคนคงรอคอย และจับตามองอย่างใกล้ชิด และคงต้องช่วยเป็นกำลังใจให้กระทรวงพลังงาน โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขับเคลื่อนเดินหน้าสองนโยบายสำคัญนี้ให้ประสบความสำเร็จ สร้างมิติใหม่แห่งวงการเกษตรไทย สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เกษตรกรไทย สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนตรงตามแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลนี้